Moisture คืออะไร? สามารถตรวจวัดปริมาณความชื้นได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?

Moisture คือ

ความชื้น หรือ Moisture คือ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ไปจนถึงอาคาร สิ่งก่อสร้าง และเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม การทำความเข้าใจถึงความชื้นและการวัดความชื้นจะช่วยให้คุณสามารถควบคุมความชื้นให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของคุณโดยใช่เหตุ

บทความนี้จะพาทุกคนมาหาคำตอบกันว่า Moisture คืออะไร? สามารถวัดปริมาณความชื้นได้อย่างไรบ้าง? การวัดค่า Moisture มีประโยชน์อย่างไร? รวมถึงคำถามอื่นๆ ที่พบบ่อยเกี่ยวกับความชื้น

สารบัญบทความ


Moisture คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร?

 

Moisture คืออะไร


Moisture คือ
ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในสสารต่างๆ (ในภาษาไทยตรงกับคำว่า “ความชื้น”) เนื่องจากโลกของเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ ทั้งในสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ในรูปแบบของของเหลวหรือไอน้ำในอากาศ ดังนั้นสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเราล้วนมีความชื้น Moisture คือ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้สสารเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ดังนั้น การควบคุมประมาณ Moisture Content คือ สิ่งที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึง เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากความชื้นนั่นเอง

ยกตัวอย่างผลกระทบจากความชื้น เช่น ความชื้นในอาหาร หากวางอาหารประเภททอดทิ้งไว้เป็นเวลานาน ความชื้นจะทำให้ความกรอบหายไป อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพอาหารและอรรถรสในการกินได้ หรือหากโลหะได้รับความชื้นมากๆ อาจก่อให้เกิดสนิม สามารถสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างที่ทำจากโลหะได้

วัดความชื้น (Moisture) ด้วยวิธีไหนได้บ้าง? 


หลังจากที่ได้ทำความรู้จักว่า
Moisture คืออะไร ไปแล้ว เราจะสามารถวัดปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในสสารต่างๆ ได้อย่างไรบ้าง? ด้วยความที่ Moisture คือปริมาณอนุภาคของน้ำที่สามารถแทรกตัวอยู่ได้ในวัตถุต่างๆ โดยที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงได้มีเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการวัดความชื้น โดยใช้หน่วยความชื้นที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเครื่องมือ เช่น moisture analyzer และ moisture meter คือ เครื่องวัดความชื้นที่สามารถใช้วัดค่าความชื้นในวัตถุได้

ในปัจจุบัน มีเทคนิคการวัดค่าความชื้น (Moisture) ที่เป็นที่นิยม ดังนี้

Gravimetric Method: Loss on Drying (LOD) 


Gravimetric Method คือการวิเคราะห์ด้วยน้ำหนัก โดยการทดสอบแบบ
Loss on Drying คือวิธีการวัดปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในวัตถุที่ต้องการทดสอบด้วยการชั่งน้ำหนัก เนื่องจากว่า Moisture คือ น้ำ และของเหลวอื่นๆ ที่สามารถระเหยได้ ดังนั้นหากนำตัวอย่างวัตถุที่ต้องการวัดมาผ่านความร้อนในอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสม จะสามารถทำให้ความชื้นที่อยู่ในวัตถุตัวอย่างระเหยออกไป จนเหลือแต่เพียง dry matter เท่านั้น (dry matter คือ วัตถุแห้ง หรือวัตถุที่ไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่)

โดยหากนำน้ำหนักของวัตถุก่อนนำความชื้นออก มาเปรียบเทียบกับน้ำหนักของวัตถุเดิมที่นำความชื้นออกไปแล้ว ก็จะสามารถคำนวนปริมาณของความชื้นที่อยู่ในวัตถุได้นั่นเอง

Karl Fischer Titration


เทคนิค Karl Fischer Titration เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถตรวจหา water content ภายในวัตถุ (
water content คือ ปริมาณน้ำในวัตถุ) เทคนิคนี้สามารถใช้ได้สำหรับวัตถุที่มีความชื้นสูงไปจนถึงความชื้นต่ำ จึงสามารถวัดค่าความชื้นได้อย่างแม่นยำ และเหมาะกับการวิเคราะห์ความชื้นในอาหาร โดยวิธีนี้จะอาศัยการทำปฏิกิริยาไทเทรตของสารละลายไอโอดีนกับน้ำในวัตถุที่ทำการทดสอบ

Conductivity Measurement


อีกหนึ่งเทคนิคที่สามารถใช้ในการตรวจวัดปริมาณความชื้นในวัตถุได้คือการวัดค่าการนำไฟฟ้า
Moisture คือ น้ำหรือความชื้น ซึ่งมีคุณสมบัติการนำไฟฟ้า ดังนั้นยิ่งวัตถุนั้นมีความชื้นมากเท่าไหร่ ค่าการนำไฟฟ้าก็จะมากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกันมีอีกวิธีคือการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า โดยยิ่งวัตถุมีความต้านทานไฟฟ้ามากเท่าไหร่ แสดงว่ามีปริมาณความชื้นที่น้อยลง

TDLAS technology


TDLAS Technology ย่อมาจาก Tunable Diode Laser Absorption Spectroscopy เป็นเทคโนโลยีที่สามารถวิเคราะห์ก๊าซและความชื้นได้อย่างแม่นยำและเรียลไทม์ เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการวัดความชื้นในตัวอย่างที่เป็นก๊าซ โดยมีหลักการคือ ปล่อยคลื่นลำแสง (ที่มีความถี่เฉพาะ) ออกมาจากเลเซอร์ไดโอดผ่านไปยังก๊าซตัวอย่าง หลังจากนั้นอนุภาคไอน้ำจะทำปฏิกิริยาดูดกลืนคลื่นที่ถูกปล่อยอออกมา ทำให้ความเข้มข้นของลำแสงเปลี่ยนแปลงไป จนสามารถวิเคราะห์ปริมาณความชื้นได้

ประโยชน์ของการวัดความชื้น (Moisture)

 

ประโยชน์ของการวัดความชื้น


ความชื้น หรือ
Moisture คือ สิ่งที่สามารถสร้างความเสียหายกับสิ่งของต่างๆ ได้ วัสดุที่ไม่ทนความชื้นจะเสื่อมสภาพหรือผุพังลงหากได้รับปริมาณความชื้นที่มากจนเกินไปเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นการกำหนดค่าความชื้นที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการควบคุมคุณภาพของสินค้าให้มีอายุยืนยาวมากที่สุด นอกจากนี้ การควบคุมปริมาณ Moisture คือวิธีที่จะช่วยรักษาสภาพของวัสดุต่างๆ ภายในอาคารให้ยังคงอยู่ ตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างประโยชน์ของการวัดความชื้น (Moisture) ดังนี้

ดูแลรักษาสภาพบ้าน


Moisture คือ
ศัตรูตัวฉกาจของบ้าน เนื่องจากความชื้นจะสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างและวัสดุต่างๆ ได้ หากเจ้าของบ้านปล่อยปะละเลย วัสดุที่เสี่ยงต่อการชำรุดหรือเสื่อมโทรมจากความชื้น เช่น ไม้, คอนกรีต, โลหะ, ผ้า, และกระดาษ เป็นต้น

ควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์


การหาความชื้นในอาหาร
หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมความชื้นของผลิตภัณฑ์ของคุณให้อยู่ในมาตรฐานที่เหมาะสมได้ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร, เวชภัณฑ์, เคมีภัณฑ์, และเภสัชภัณฑ์

ประโยชน์อื่นๆ 


การวัดความชื้นยังมีความสำคัญอย่างยิ่งในเชิงอุตสาหกรรม นอกจากจะเป็นการควบคุมคุณภาพของสินค้าให้ได้มาตรฐานแล้ว ในหลายๆ อุตสาหกรรม ปริมาณความชื้นอาจส่งผลกระทบด้านความปลอดภัย, การขนส่ง และกระบวนการผลิต นอกจากนี้การวัดความชื้นยังเป็นขั้นตอนสำคัญในการวิเคราะห์ และพยากรณ์สภาพอากาศอีกด้วย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Moisture 

 

Moisture กับ Humidity ต่างกันอย่างไร?


หลายคนอาจสับสนว่า Moisture กับ Humidity แตกต่างกันหรือไม่ เนื่องจากในภาษาไทยมีเพียงคำว่า “ความชื้น” ที่ใช้อธิบายหลักการนี้ โดยในภาษาอังกฤษ
Moisture คือ คำที่ใช้กล่าวถึงปริมาณน้ำหรือความชื้นที่มีอยู่ในวัตถุต่างๆ ในขณะที่ Humidity คือ ไอน้ำ หรือความชื้นในอากาศนั่นเอง 

Moisture Balance คืออะไร?


Moisture Balance คือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดค่าความชื้นด้วยเทคนิคแบบ Gravimetric Method คือการวิธี Loss on Drying เพื่อชั่งน้ำหนักของวัตถุก่อนและหลังการทำให้แห้งได้อย่างแม่นยำ

สรุป Moisture คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ?


Moisture คือ
น้ำหรือความชื้นที่มีอยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะอยู่ในอากาศหรือในวัตถุต่างๆ หากมีความรู้ความเข้าใจในความหมายและความสำคัญของความชื้นที่ถูกต้อง จะพบว่าการควบคุมปริมาณความชื้นอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษาสภาพบ้าน ไปจนถึงการวิเคราะห์สภาพอากาศ หรือควบคุมมาตรฐานคุณภาพสินค้า ก็ล้วนต้องอาศัยการวัดค่าความชื้นทั้งสิ้น