เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และระบบอุตสาหกรรมนั้นเข้ากันได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ เรียกได้ว่าเป็น 2 สิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้อย่างดีเยี่ยม เพราะหากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป จะทำให้การทำงานนั้นไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดีเท่าที่ควร บทความนี้เราจึงขอยกตัวอย่างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ (หรือเรียกอย่างง่ายๆ ว่าอุปกรณ์ในห้องแล็ป) และระบบอุตสาหกรรมที่พอนำมาใช้ร่วมกันแล้วมีแต่ปัง กับปังมาฝาก เพื่อให้เพื่อนๆ ได้เห็นภาพการทำงานระหว่างสองสิ่งนี้อย่างชัดเจนเข้าใจแจ่มแจ้งมากยิ่งขึ้น
อุปกรณ์ในห้องแล็ป VS ระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
อุปกรณ์ในห้องแล็ป นั้นมีมากมายหลายสิ่ง หลายประเภทการใช้งาน แต่สำหรับระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่แล้วนั้น เรามักเห็นเจ้าเครื่องมือนี้กันอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือ เครื่องมือตรวจรังสี นั่นเอง แต่ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับเครื่องมือตรวจรังสีในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เรามาทำความรู้จักกับคำว่ารังสีกันก่อน ว่ารังสีคืออะไร มีกี่ประเภท และมีผลกระทบอย่างไรกับเราบ้าง ?
ทำความรู้จักกับ “รังสี”
รังสี (radiation) คือ พลังงานที่แผ่มาจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งซึ่งอาจสามารถทะลุผ่านวัตถุชนิดต่างๆ ได้ โดยเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศ ซึ่งรังสีจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- รังสีไม่ก่อประจุ (non-ionizing radiation) รังสีชนิดนี้เป็นรังสีที่มีพลังงานต่ำ อยู่ในช่วงต่ำของแถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic spectrum) เช่น แสงอาทิตย์ แสงอินฟราเรด คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุ เป็นต้น
- รังสีก่อประจุ (ionizing radiation) รังสีชนิดนี้เกิดจากอะตอมหรือธาตุที่ไม่เสถียร ซึ่งเรียกว่า ธาตุกัมมันตรังสี (radioactive element) เช่น ยูเรเนียม และทอเรียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการทำปฏิกิริยานิวเคลียร์ โดยอะตอมที่ไม่เสถียรเหล่านี้จะมีพลังงานหรือมวลสารจำนวนมาก ดังนั้นการที่อะตอมจะเสถียรขึ้นได้นั้น พวกมันจะต้องปลดปล่อยรังสีซึ่งเป็นพลังงานหรือมวลสารที่มีมากเกินไปออกมา การแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่องของธาตุกัมมันตรังสีนี้ เรียกว่า กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) โดยรังสีที่อะตอมหรือธาตุที่ไม่เสถียรปลดปล่อยออกมาเป็นรังสีก่อประจุที่มักพบได้ 4 ชนิด ดังนี้
- รังสีแอลฟา
- รังสีเบต้า
- รังสีแกมมาและรังสีเอ็กซ์
ผลกระทบของ “รังสี” ต่อสุขภาพ
ผลกระทบของ “รังสี” ต่อสุขภาพ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ผลกระทบจากการได้รับกัมมันตภาพรังสีในปริมาณที่น้อยแต่ยาวนาน (Stochastic health effects) แม้จะมีความเป็นไปได้ว่าจะมีผลต่อสุขภาพ แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าผลที่ว่านั้นจะมีอาการอย่างไรและรุนแรงเพียงใด แต่โดยทั่วไปแล้ว ยอมรับกันว่ามะเร็งเป็นผลอย่างหนึ่งของการได้รับรังสีในระยะยาว ในขณะเดียวกัน ยังพบว่ายังสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมได้อีกด้วย
- ผลกระทบจากการได้รับกัมมันตภาพรังสีในปริมาณที่มากในระยะเวลาสั้น (Non-Stochastic health effects) ซึ่งมักแสดงอาการอย่างเฉียบพลันนั่นเอง
ทั้งนี้ เมื่อเราได้ทราบข้อมูล และได้ทำความรู้จักกับรังสีไปอย่างคร่าวๆ แล้ว เรามาเข้าสู่ประเด็นกันเลยดีกว่า นั่นก็คือ เครื่องมือตรวจรังสี ที่เรามักพบเห็นกันบ่อยๆ ในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งเครื่องมือตรวจรังสีนี้นั้น คืออะไร และมีการทำงานอย่างไร เรามาเลื่อนลงไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลย
เครื่องมือตรวจรังสี ในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
เครื่องมือตรวจรังสี หรือเครื่องวิเคราะห์ธาตุด้วยเครื่องเรืองรังสีเอ็กซ์ ตามหลักการของ X-Ray Fluorescence (XRF) Spectrometry มีลักษณะการทำงาน คือ การใช้เทคนิคการวัดแบบกระจายความยาวคลื่นของการเรืองรังสีเอ็กซ์ (Wavelength Dispersive Xray Fluorescence) และแบบการวัดพลังงานคลื่นของการเรืองรังสีเอ็กซ์ (Energy Dispersive X-ray Fluorescence) ในเครื่องเดียวกัน โดยจะวิเคราะห์ได้ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณที่มีความแม่นยำสูงมาก ในระดับเศษส่วนในล้านส่วน (ppm) ขึ้นไป ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นชุดประมวลผลและควบคุมการทำงานของเครื่องมือ และสามารถใช้งานได้กับงานทางด้านธรณีวิทยา แหล่งทรัพยากรธรณี วัสดุการเกษตร และด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
โดยเครื่องมือตรวจรังสีที่ระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มักนำมาใช้ คือ เครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคล ซึ่งเครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลเป็นเครื่องวัดรังสีที่ใช้สำหรับติดไว้บนร่างกายของผู้ที่ต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับรังสี ซึ่งเครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคล จะประกอบด้วยแผ่นฟิล์มวัดรังสีและกลักใส่ฟิล์ม ภายในกลักใส่ฟิล์มจะมีแผ่นกรอง (Filter) ที่เป็นโลหะชนิดต่างๆ กันติดอยู่ เพื่อช่วยในการประเมินค่าปริมาณรังสีและพลังงานของรังสีที่แตกต่างกันนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม หากท่านใดกำลังมองหาเครื่องมือใช้ในระบบอุตสาหกรรม สามารถโทรติดต่อสอบถามรายละเอียดสินค้า และพูดคุยกับทางแบรนด์ได้ที่ https://pico.co.th/ โดยตรงเลย เพื่อให้ทีมผู้เชี่ยวชาญจาก PICO แนะนำ Product ที่เหมาะสมกับองค์กร ขนาดธุรกิจ หรือโรงงานของคุณ เพื่อประสิทธิภาพอันสูงสุด ที่สำคัญ PICO ยังเน้น After Service ระยะยาว ตามสัญญา ซึ่งจะดูแล Product รวมถึงออกแบบโซลูชั่นแบบครบวงจร ตอบโจทย์ทุกลักษณะโรงงานของลูกค้าเลยทีเดียว
โพสเมื่อ: วันอังคาร ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2563