CEMsระบบตรวจวัดมลพิษทางอากาศสำคัญอย่างไร ทำไมต้องติดตั้ง

CEMs

CEMsคืออะไร ทำไมจึงต้องมี CEMsในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ และ CEMsนี้เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายอย่างไรบ้าง? แน่นอนว่าหลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้จัก CEMsแต่ทุกคนคงเคยได้ยินชื่อของ PM2.5 และรู้จักปัญหามลพิษทางอากาศกันมาก่อน CEMsนี้จึงเป็นระบบที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหามลพิษและยังเป็นเครื่องมือวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย

ปัญหาของฝุ่นPM2.5 ในประเทศไทยยังถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้มลพิษทางอากาศในประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายปี การทำความรู้จักกับ CEMsและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปพร้อม ๆ กันจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่โรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลายควรรู้


สารบัญบทความ


CEMsคืออะไร?


CEMs (
Continuous Emission Monitoring System) คือระบบตรวจวัดมลพิษทางอากาศที่ปล่อยจากปล่องอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลค่าต่าง ๆ จากของอากาศที่ถูกปล่อยออกมาจากปล่อง ทำการวัดค่าและวิเคราะห์ผลว่าอากาศที่ถูกปล่อยออกมาเป็นมลพิษมากน้อยแค่ไหน เพื่อควบคุมให้อยู่ภายใต้มาตรฐานที่กำหนด CEMs จึงถือว่าเป็นเครื่องวัดคุณภาพอากาศประเภทหนึ่ง

การตรวจสอบมลพิษทางอากาศของโรงงานแต่ละประเภทอาจมีการใช้เชื้อเพลิงแตกต่างกัน รวมไปถึงอาจก่อให้เกิดมลพิษคนละรูปแบบกัน จึงส่งผลให้ค่าที่วัดผ่าน CEMs แตกต่างกันตามไปด้วย

มาตรฐานคุณภาพอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งสำคัญที่โรงงานต่าง ๆ ควรยึดถือ เพราะสามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ในประเทศได้ โดยสามารถติดตามสถานการณ์มลพิษทางอากาศในประเทศได้จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ


กฎหมายไทยและ CEMsที่ควรรู้


ระบบ CEMs เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายเพื่อการควบคุมสถานการณ์มลภาวะทางอากาศในประเทศไทย อาจมองว่าเป็นกฎหมาย ปล่องระบายก็ได้เช่นกัน เพราะใช้
เครื่องวัดฝุ่นhttps://pico.co.th/product-category/quality-safety-health-and-environment/ambient-particulate-monitoring/หรือเครื่องวัดคุณภาพอากาศประเภทต่าง ๆ ในการตรวจค่าอากาศจากปล่องนั่นเอง

CEMs ตามกฎหมายแล้วมีข้อกำหนดว่าโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ที่เข้าข่ายต้องมีการติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศว่าเป็นมลพิษหรือไม่จากปล่องแบบอัตโนมัติที่มีการปล่อยควันอย่างต่อเนื่อง 

ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมมีข้อกำหนดเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าค่าที่ต้องตรวจสอบผ่าน CEMs สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับประเภท ของโรงงานนั้น ๆ เชื้อเพลิงที่ใช้ หรือลักษณะของมลพิษที่อาจเกิดขึ้นนั่นเอง

การแบ่งกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายต้องใช้ CEMs สามารถแบ่งออกได้เป็น 13 กลุ่มตามหน่วยผลิตและขนาด โดยได้มีการออกประกาศจากกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับใหม่ขึ้นมาแทน นั่นคือ “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดให้โรงงานต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษ เพื่อรายงานมลพิษอากาศจากปล่องโรงงาน พ.ศ. ๒๕๖๕” หรือ (CEMs2565) เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพอากาศของโรงงานต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างเรียบร้อยและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน


CEMsมีกี่ประเภท?


การเช็คมลพิษทางอากาศด้วย
CEMs ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ที่เป็นที่นิยม คือ

  1. ระบบดึงก๊าซไปวิเคราะห์ (Extractive System)
  2.  ระบบวิเคราะห์ที่จุดเก็บตัวอย่าง (In-Situ System)

ระบบดึงก๊าซไปวิเคราะห์ (Extractive System)


CEMs ที่ใช้ระบบดึงก๊าซไปวิเคราะห์ (Extractive System) จะทำการวิเคราะห์โดยดึงก๊าซจากปล่องไปผ่านเครื่องมือวิเคราะห์เพื่อให้สามารถตรวจค่าความเป็นมลพิษของอากาศจากปล่องได้ ระบบนี้จึงจำเป็นต้องมีส่วนที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างก๊าซ (Sampling) เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่มีคุณภาพมากที่สุด อยู่ในสภาพที่ความชื้นและอุณหภูมิเหมาะสมต่อการวิเคราะห์ รวมไปถึงปราศจากสิ่งรบกวนอื่น ๆ อย่างฝุ่นละอองที่ไม่เกี่ยวข้องอีกด้วย

CEMs ประเภทนี้อาจต้องเสียค่าบำรุงรักษามากกว่าอีกประเภทหนึ่ง เนื่องจากมีส่วนประกอบหลากหลาย แต่แข็งแรงและเสียหายยาก มีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน และแม้ว่าจะเกิดความเสียหายก็สามารถซ่อมแซมส่วนประกอบต่าง ๆ ที่แยกกันได้ง่าย ข้อดีอีกอย่างของ CEMs แบบดึงก๊าซไปวิเคราะห์คือสามารถวิเคราะห์ค่าจากหลาย ๆ ปล่องไปพร้อม ๆ กันได้

ระบบวิเคราะห์ที่จุดเก็บตัวอย่าง (In-Situ System)


CEMs  ที่ใช้ระบบวิเคราะห์ที่จุดเก็บตัวอย่าง จะทำการวิเคราะห์โดยวิเคราะห์อากาศที่บริเวณปล่องเลยโดยตรง ไม่จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างแยกไปผ่านเครื่องวิเคราะห์ในบริเวณอื่น ดังนั้นจึงสามารถวิเคราะห์ได้จากปล่องเดียวเท่านั้น CEMs ประเภทนี้บำรุงรักษาง่ายเพราะมีส่วนประกอบน้อย แต่ก็เกิดความเสียหายได้ง่ายเช่นและยังซ่อมแซมยากอีกด้วย เพราะอุปกรณ์ต่าง ๆ ติดตั้งภายในปล่องนั่นเอง


ส่วนประกอบของ CEMs


CEMs มีส่วนประกอบหลัก ๆ 3 ส่วนด้วยกัน ในกรณีที่เป็น CEMs ประเภทดึงก๊าซไปวิเคราะห์ ในขณะที่ CEMs ประเภทวิเคราะห์ที่จุดเก็บตัวอย่างจะไม่มีการส่งต่อตัวอย่างไปยังบริเวณอื่น ๆ โดย 3 ส่วนหลักของ CEMs โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยส่วนประกอบดังต่อไปนี้

ส่วนการเก็บและส่งตัวอย่าง (Sampling Interface/Sampling Delivery System) 


CEMs ส่วนแรกคือส่วนของการเก็บและส่งตัวอย่าง ทำหน้าที่เก็บตัวอย่างก๊าซให้อยู่ในสภาพที่ดีและเหมาะสมต่อการวิเคราะห์มากที่สุด ซึ่งจะมีทั้งอุปกรณ์สำหรับดูดก๊าซออกจากปล่อง อุปกรณ์สำหรับส่งต่อก๊าวหรือท่อส่งก๊าซ อุปกรณ์ทำความเย็นสำหรับดึงน้ำออกจากก๊าซ และอุปกรณ์อื่น ๆ

ตัวอย่างอุปกรณ์ส่วนเก็บและส่งตัวอย่างเช่น

เครื่อง cems-SCC-C Cooler

 

SCC-C Cooler

ทำหน้าที่กำจัดความชื้นและไอน้ำออกจากตัวก๊าซเพื่อให้ก๊าซอยู่ในสภาพที่เหมาะสมที่สุด

 

เครื่อง cems-SCC-F-Feed-Unit

SCC-F Feed Unit 

ทำหน้าที่เก็บและส่งตัวอย่างก๊าซไปวิเคราะห์

เครื่อง cems-SCC-K-NOX-Converter

SCC-K NOX Converter 

ทำหน้าที่เปลี่ยน ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ให้เป็นเพียงส่วนประกอบของไนตริกออกไซด์ (NO)

ส่วนการวิเคราะห์ (Analyzer)


แนะนำว่าคืออะไร ช่วยอะไร จากนั้นแนบรูปสินค้าที่ PICO มี พร้อมแนะนำสินค้านั้น + แทรก Hyperlink

CEMs ในส่วนที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ค่ามลพิษทางอากาศจะแตกต่างจากเครื่องวัดอนุภาคเนื่องจากอุปกรณ์สำหรับวิเคราะห์จะทำหน้าที่วัดจำนวนและประเภทของส่วนประกอบต่าง ๆ ในก๊าซเช่น ค่า CO, NO, SO2, O2, CO2, CH4, H2S, NH3, HF, H2O, หรือ HCl ตัวอย่างเครื่องมือวิเคราะห์เช่น

เครื่อง cems-AO2000-Series

AO2000 Series

เครื่อง cems-EL3000-Series

EL3000 Series

สำหรับคนที่อยากทราบว่า CEMs ต่างจากเครื่องวัดอนุภาคอย่างไรสามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องวัดขนาดอนุภาคเพิ่มเติมได้ที่บทความ เครื่องวัดขนาดอนุภาค คือ

ส่วนการจัดการข้อมูล (Data Acquisition System)


แนะนำว่าคืออะไร ช่วยอะไร จากนั้นแนบรูปสินค้าที่ PICO มี พร้อมแนะนำสินค้านั้น + แทรก Hyperlink

ส่วนประกอบสุดท้ายของ CEMs คือส่วนการจัดการข้อมูลที่มีหน้าที่นำเสนอผลการวิเคราะห์และผลการวัดค่าจากส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นอุปกรณ์Envidas Ultimate เป็นต้น

cems-ebook

ดาวน์โหลดแคตตาล็อกสินค้าทั้งหมดได้ที่

แคตตาล็อกสินค้ากลุ่มเครื่องวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้


CEMsอ่านค่าอะไรได้บ้าง


CEMs สามารถอ่านค่าได้หลายอย่าง ประกอบไปด้วย

  • ค่าความทึบแสง (Opacity) มีหน่วยวัดเป็นร้อยละหรือมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • ค่าฝุ่นละออง (Particulate) มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • ค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide : SO2) มีหน่วยวัดเป็นส่วนในล้านส่วน
  • ค่าออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxides of Nitrogen : NO2) มีหน่วยวัดเป็นส่วนในล้านส่วน
  • ค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide : CO) มีหน่วยวัดเป็นส่วนในล้านส่วน
  • ค่าออกซิเจน (Oxygen : O2) มีหน่วยวัดเป็นส่วนในล้านส่วน
  • ค่าไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) มีหน่วยวัดเป็นส่วนในล้านส่วน
  • ค่าปรอท (Hg) มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • ค่าไฮโดรเจนคลอไรด์ (HC) มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • ค่าอัตราการไหลในปล่อง มีหน่วยวัดเป็นลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง
  • ค่าอุณหภูมิในปล่อง มีหน่วยวัดเป็นองศาเซลเซียส

การอ่านค่าCEMs จะเริ่มมีสัญญาณว่าค่าออกซิเจน อันตรายก็ต่อเมื่อมีค่าที่น้อยเกินไปเมื่อเทียบกับก๊าซพิษอื่น ๆ อย่างก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์,ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์, ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์, ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์, ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ หรือปรอทเป็นต้น


CEMs มีประโยชน์อย่างไร


CEMs มีประโยชน์อย่างมากต่อทั้งโรงงานอุตสาหกรรมเอง ตลอดจนสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ เรียกได้ว่ามีบทบาทสำคัญที่ส่งผลต่อทุก ๆ สิ่งมีชีวิตทั่วโลกเลยทีเดียว ประโยชน์ของ CEMs ได้แก่

  •  CEMs เป็นข้อกฎหมายหนึ่ง ดังนั้นการทำตามกฎหมายจะช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆจะช่วยให้ประสานงานกับภาครัฐได้ง่าย และหลีกเลี่ยงโอกาสเกิดปัญหายิบย่อยได้ในอนาคต
  •  CEMs ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ได้ดีขึ้น เนื่องจากช่วยให้คุณทราบความสามารถในการเผาไหม้ของปล่องในปัจจุบัน และเห็นจุดที่ควรแก้ไขได้จากค่าต่าง ๆ ที่วิเคราะห์ผ่านก๊าซที่ออกมาจากปล่องนั้น ๆ นั่นเอง
  •  CEMs ช่วยให้สังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับตัวปล่องได้เร็วขึ้น เช่นสามารถเห็นได้ทันทีว่าประสิทธิภาพในการเผาไหม้ลดลงหรือไม่
  •  CEMs ช่วยให้รัฐสามารถตรวจสอบคุณภาพการเผาไหม้ของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมและสามารถเข้าควบคุมหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
  •  CEMs ช่วยลดการส่งต่อมลภาวะจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ออกสู่ธรรมชาติแวดล้อม เพราะเมื่อมีมลภาวะเกิดขึ้นจะสามารถวิเคราะห์และทราบผลได้ทันทีทำให้หยุดยั้งและแก้ไขได้ทัน
  •  CEMs ช่วยให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้น ไม่ต้องประสบปัญหามลภาวะทางอากาศเช่น PM2.5 และไม่ต้องสูดดมก๊าซพิษต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเข้าสู่ร่างกาย

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของ CEMs นั้นมีหลากหลาย และสามารถช่วยเหลือทั้งคน สิ่งแวดล้อม ภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมเองได้เป็นอย่างดี การเลือกนำ CEMs มาใช้งานให้ถูกต้องเหมาะสมจึงสำคัญมาก


โรงงานที่ต้องติดตั้งระบบ CEMs


โรงงานที่ควรติดตั้งระบบ CEMs
ประกอบไปด้วยโรงงานหลายประเภท เช่นโรงงานประเภทต่อไปนี้

  • โรงงานผลิตไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 29 เมกกะวัตต์เป็นต้นไป
  • โรงงานผลิตเยื่อกระดาษและโรงงานผลิตกระดาษ
  • โรงงานถลุงเหล็ก หล่อเหล็ก หรือหลอมเหล็กที่มีกำลังสามารถผลิตได้มากกว่า 100 ตัน/วันเป็นต้นไป
  • โรงงานอุตสาหกรรมสำหรับกลั่นนํ้ามันปิโตรเลี่ยมทุกโรงงาน

หากคุณเป็นเจ้าของกิจการโรงงานอุตสาหกรรมดังกล่าว ก็ควรติดตั้ง CEMs โดยเร็วเพื่อให้สอดคล้องไปกับกฎหมายการควบคุมมลภาวะทางอากาศในประเทศไทย


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับระบบ CEMS


หลาย ๆ คนแม้ทำความรู้จักกับ CEMs กันไปแล้วแต่ก็อาจจะยังมีคำถามในใจอยู่บ้าง เช่น CEMs ออนไลน์คืออะไร หรือ CEMs จะช่วย PM2.5 ได้อย่างไร มาดูคำตอบของคำถามเหล่านั้นไปพร้อม ๆ กัน

ระบบ CEMsออนไลน์คืออะไร?


CEMs แบบระบบออนไลน์คือระบบ CEMs ที่มีการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยโดยการนำเทคโนโลยีเข้าช่วย ทำให้สามารถติดตามผลการวิเคราะห์จากระบบ CEMs ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน หรือต้องการเช็คข้อมูลเมื่อไหร่ โดยสามารถตรวจเช็คผลจากระบบ CEMs ได้ทั้งผ่านคอมพิวเตอร์และผ่านโทรศัพท์มือถือ ทำให้ตอบโจทย์การทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น

CEMsช่วยเรื่อง PM 2.5 ได้อย่างไร?


CEMs ช่วยแก้ปัญหา PM2.5 ได้เพราะ PM2.5 นี้เป็นฝุ่นที่เกิดจากหลากหลายสาเหตุ แต่หนึ่งในสาเหตุสำคัญนั้นมาจากมลพิษที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ นั่นเอง ดังนั้นหากมีการติดตั้ง CEMs ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายทั้งหลาย ก็จะช่วยลดการปล่อยก๊าซอันตรายและฝุ่นพิษต่าง ๆ ได้และทำให้ปัญหา PM2.5 ทุเลาลง


CEMsตัวช่วยเรื่องอุตสาหกรรมโดย PICO


CEMs นับว่าเป็นตัวช่วยสำคัญประจำโรงงานอุตสาหกรรมเพราะช่วยเสริมประสิทธิภาพการเผาไหม้และยังลดโอกาสเกิดมลภาวะทางอากาศได้อีกด้วย สำหรับท่านที่สนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ CEMs PICO มืออาชีพด้านเครื่องมือในภาคอุตสาหกรรมยินดีให้คำแนะนำ

เนื่องจาก PICO ให้บริการขายสินค้าในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ CEMs เครื่องมือสำหรับวัดมลพิษทางอากาศ และเครื่องมือในภาคอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ จำนวนมาก จึงสามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุม ตอบโจทย์โรงงานอุตสาหกรรมได้แบบครบวงจร

นอกจากนี้ PICO ยังมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีพร้อมให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง จะซื้อสินค้า CEMs หรือขอคำแนะนำเพิ่มเติมก็ทำได้สบาย ๆ เมื่อซื้อแล้วทีมงานของเรายังพร้อมให้บริการติดตั้งอย่างมืออาชีพเพื่อให้มั่นใจว่าทุก ๆ สินค้าที่คุณซื้อไปจะสามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมและเต็มประสิทธิภาพ โดยสามารถสอบถามได้ที่เบอร์ +662 939-5711 (12 lines) , +662 513-2333 (lines) หรือ +662 939-4207-8

เว็บไซต์ของเราให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน เมื่อท่านเข้าใช้บริการหรือเว็บไซต์ของเรา ท่านยินยอมให้เราเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่ระบุในนโยบายความเป็นส่วนตัว คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า