Gas Chromatography คืออะไร ทำความเข้าใจก่อนซื้อเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ

Gas Chromatography

Gas Chromatography คืออะไร ทำความเข้าใจก่อนซื้อเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ

ในการทดลองวิจัยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในสารตัวอย่างนั้น เราจะใช้เทคนิค chromatography กล่าวคือ เทคนิคที่ใช้แยกองค์ประกอบของสารเพื่อนำไปวิเคราะห์ได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ตามประเภทการใช้งาน ซึ่งหนึ่งในนั้นจะมี Gas Chromatography คือ เทคนิคที่แยกองค์ประกอบของสารตัวอย่างด้วยการระเหยให้กลายเป็นไอ

ในปัจจุบันเครื่อง Gas Chromatography ถูกผลิตขึ้นมาใช้งานหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านการศึกษา การวิจัยหรือในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งหลายคนอาจจะยังคงสงสัยว่า เทคนิคการแยกสารด้วยเครื่อง Gas Chromatography มีประโยชน์อย่างไร หรือต้องการทราบว่ามีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง ในที่นี้จะมาพูดถึงข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับเครื่อง Gas Chromatography เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ


สารบัญบทความ


Gas Chromatography หรือ GC คืออะไร?

Gas Chromatography คือ เครื่องมือแยกสารตัวอย่างด้วยการระเหยสารให้อยู่ในสถานะแก๊สหรือไอเพื่อนำมาตรวจสอบและวิเคราะห์องค์ประกอบและปริมาณของสารแต่ละชนิดที่อยู่ภายในสารตัวอย่าง โดยมักจะนำเครื่องมาใช้กับการวิเคราะห์สารระเหย แก๊สตามธรรมชาติ สารเสพติด และอื่น ๆ ได้อย่างแม่นยำทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเทคนิคที่นิยมใช้คือ Gas Chromatography Mass Spectrometry (GC-MS)

หลักการทำงานของ Gas Chromatography

หลังจากที่ทราบแล้วว่า Gas Chromatography คืออะไร ก็มาทำความเข้าใจกันต่อว่า gas chromatography มีหลักการทำงานเป็นอย่างไรบ้างเพื่อสามารถใช้งานเครื่องได้อย่างถูกต้องและได้ผลจากตรวจวิเคราะห์สารได้อย่างแม่นยำ ดังนี้

  1. ในระบบ Gas Chromatography จะมี แก๊สนำพา(carrier gas) อยู่ภายในเครื่องตลอดเวลา
  2. เมื่อใส่สารตัวอย่างที่ต้องการนำมาวิเคราะห์ผ่าน หัวฉีด(injector) ที่เป็นระบบปิดเพื่อป้องกันไม่ให้แก๊สรั่วไหลออกไป
  3. ควบคุมอุณหภูมิ injector ให้สูงขึ้น เพื่อให้สารตัวอย่างจะระเหยกลายเป็นแก๊สหรือไอและสามารถไปยังส่วน คอลัมน์(column) ไปพร้อมกับ carries gas ได้
  4. เมื่ออยู่ในส่วน column จะเกิดการแยกองค์ประกอบของสาร
  5. หลังจากที่แยกองค์ประกอบของสารเรียบร้อยแล้วก็จะเดินทางจาก column ไปยังส่วนตรวจวัด(detector)
  6. ส่วน detector จะส่งสัญญาณที่ตรวจวัดได้ไปแปรผลด้วยระบบไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ และส่งไปยังส่วนประมวลผลเพื่อบันทึกผล

หมายเหตุ

หลังจากที่สารเดินทางผ่านส่วนตรวจวัดก็จะถูกระบายออกจากเครื่องไปพร้อมกับ carrier gas

ประโยชน์ของ Gas Chromatography คือ?

Gas Chromatography คือ เครื่องที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางด้านการศึกษา การวิจัย รวมถึงใช้ภายในอุตสาหกรรมได้อย่างหลากหลาย ดังนี้

  • เครื่อง Gas Chromatography สามารถตรวจวัดองค์ประกอบภายในสารที่อยู่ในสถานะไอได้
  • ใช้ทำความเข้าใจคุณสมบัติของสารตัวอย่างได้ดีมากยิ่งขึ้น
  • สามารถตรวจสอบองค์ประกอบของสารตัวอย่างได้อย่างรวดเร็ว
  • ใช้ติดตามสถานะของสารที่มีอยู่ในอากาศได้อย่างหลากหลาย เช่น ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซมีเทน แอลกอฮอล์ เป็นต้น

Gas Chromatography ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

เครื่อง gas chromatography คือ เครื่องที่นำมาใช้ตรวจองค์ประกอบของสารตัวอย่าง โดยภายในเครื่องจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

ส่วนหัวฉีด (Injector or Inlets)

หัวฉีด เป็นส่วนที่ใช้ฉีดสารตัวอย่างเข้าคอลัมน์ โดยใช้ความร้อนมาระเหยสารตัวอย่างให้แปลงสภาพกลายเป็นไอ หัวฉีดที่ใช้กับสารตัวอย่างแต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกัน เช่น

  • สารตัวอย่างเป็นแก๊สหรือไอ : gas sampling valve
  • สารตัวอย่างเป็นของเหลว : micro syringe

ทั้งนี้ความร้อนที่ใช้ในการแปลงสภาพสารตัวอย่างจะต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้สารยังคงสภาพในสถานะไอ

คอลัมน์ (Column)

คอลัมน์ เป็นส่วนที่ใช้ในการแยกสารตัวอย่าง โดยจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ packed column และ capillary column ซึ่งคอลัมน์แต่ละประเภทก็จะมีคุณสมบัติต่างกันและจะส่งผลต่อการแยกสารระเหย ดังนั้นก่อนการใช้งานจะต้องศึกษาประเภทคอลัมน์อย่างละเอียด เพื่อเลือกใช้คอลัมน์ที่เหมาะสมกับสารตัวอย่างที่ต้องการนำมาตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนตรวจวัด (Detectors)

ส่วนตรวจวัด เป็นส่วนที่ใช้ตรวจวัดสารตัวอย่างที่ถูกแยกออกมาจากคอลัมน์ แล้วจึงนำระบบไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยแปรผลประเภทของสารตัวอย่างที่นำมาตรวจและนำไปวิเคราะห์ต่อไป แต่เนื่องจากตัวอย่างแต่ละประเภทก็จะมีคุณสมบัติต่างกัน จึงควรพิจารณาส่วนตรวจวัดที่เหมาะสมกับตัวอย่างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ

ระบบประมวลผล (Data System)

ระบบประมวลผล เป็นส่วนที่นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สารตัวอย่างมาประมวลผล รายงานผล และบันทึกข้อมูลตามที่ได้รับอย่างละเอียดด้วยคอมพิวเตอร์ โดยจะได้รับข้อมูลได้ทั้งในรูปแบบการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ

ตัวอย่างเครื่อง Gas Chromatography ที่นำมาใช้งาน

• Modular oven

เตาโมดูลาร์

ที่มา : https://pico.co.th/product/modular-ovenoven/

Modular oven MAXUM เป็นเครื่องที่สามารถวิเคราะห์แก๊สได้อย่างหลากหลาย โดยสามารถติดตั้งเตาโมดูลาร์ได้ถึง 2 เตาด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเตาขนาดใหญ่หรือเตาขนาดเล็ก นอกจากนี้ตัวเครื่องยังมีวิธีการใช้งานง่ายแต่มีประสิทธิภาพสูง สามารถตรวจจับและวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว จึงเหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย

• H2S MEDOR TRACE H2S(0-1) in Hydrogen

เครื่องติดตาม H2S ใน Gas Chromatography

ที่มา : https://pico.co.th/product/h2s-medor-trace-h2s0-1-in-hydrogen/

H2S MEDOR TRACE H2S(0-1) in Hydrogen เป็นเครื่อง GC-ED ที่สามารถวิเคราะห์และเฝ้าติดตามข้อมูลของสารไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) ที่อยู่ปะปนตามแก๊สธรรมชาติหรือเชื้อเพลิงได้อย่างอัตโนมัติ โดยตัวเครื่องจะสามารถควบคุมจากระยะไกล และมีความทนทานสูงเหมาะกับการใช้งานในระยะยาว สามารถลดการใช้แก๊ส และรองรับการจัดเก็บข้อมูลได้ยาวนานถึง 10 ปี

สำหรับผู้ที่สนใจซื้อเครื่อง Gas Chromatography และเครื่องมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ในการศึกษา การวิจัย หรือใช้ในงานอุตสาหกรรม สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Catalog Gas Chromatography

การนำ Gas Chromatography ไปใช้ในอุตสาหกรรม

โดยทั่วไปแล้วจะนำเครื่อง Gas Chromatography ซึ่งก็คือเครื่องแยกองค์ประกอบภายในสารเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น สมุนไพร อาหาร เครื่องดื่ม หรือน้ำหอม โดยจะนำหลักการ Gas Chromatography วิเคราะห์ปริมาณของสารต่าง ๆ ที่อยู่ในสิ่งของนั้น ๆ เพื่อคอยควบคุมคุณภาพของสินค้าให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Gas Chromatography

GC HPLC คืออะไร?

เมื่อพูดถึง Gas Chromatography คืออะไรแล้ว ก็มักจะมีพูดถึง holc ด้วยเช่นกัน ซึ่ง gc hplc คือ เครื่องมือแยกสารตัวอย่างที่อยู่ในลักษณะของเหลวด้วยของแข็งที่บรรจุอยู่ในคอลัมน์ขนาดเล็ก โดยมักจะนำมาใช้แยกและวิเคราะห์กับสารต่าง ๆ เช่น เครื่องสำอาง อาหาร ยา สารสกัดสมุนไพร เชื้อยา และอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพแม่นยำสูงได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

GC FID คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับ Gas Chromatography?

gc fid คือ gas chromatography ประเภทหนึ่งที่ใช้วิธีเฟลมไอออไนเซชัน(FID)ในการตรวจวัดสาร ในปัจจุบันวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมใช้งานเป็นอย่างมาก เพราะมีความว่องไวสูง มีช่วงไดนามิกกว้างและสามารถตอบสนองต่อไฮโดรคาร์บอนได้อย่างหลากหลาย แต่จะมีข้อแม้ที่ว่าไม่สามารถใช้ตรวจวัดแก๊สที่ไม่สามารถติดไฟได้หรือติดไฟได้แต่ไม่ก่อให้เกิดไอออนได้

สรุป Gas Chromatography คืออะไร?

Gas Chromatography คือ เทคนิคการแยกองค์ประกอบของสารด้วยการระเหยให้กลายเป็นไอหรือแก๊สเพื่อวิเคราะห์สารต่าง ๆ เช่น แก๊สธรรมชาติ สารระเหย สารเสพติด และอื่น ๆ ได้ โดยนำข้อมูลที่บันทึกมาใช้และต่อยอดทั้งในด้านการศึกษา การวิจัย หรือในด้านอุตสาหกรรม

สำหรับทางองค์กรหรืออุตสาหกรรมที่กำลังมองหาเครื่อง Gas Chromatography หรือเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์กระบวนการผลิตอื่น ๆ เพิ่มเติม บริษัท เพทโทร-อินสตรูเมนท์ บริษัทจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือที่มีคุณภาพสูง สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว พร้อมให้ข้อมูลและคำปรึกษาในการซื้อเครื่องมือ Gas Chromatography อย่างละเอียด โดยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ดังนี้

บริษัท เพทโทร-อินสตรูเมนท์ จำกัด (สำนักงานใหญ่)
ที่อยู่ : เลขที่ 7/409 ซอยวิภาวดีรังสิต 36 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 (ประเทศไทย)
เวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30-17:30 น. (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์)
Tel : (+66)2-939-5711, (+66)2-513-2333
Email : marketing@pico.co.th
Facebook : https://www.facebook.com/Petro.Instruments/