ก๊าซพิษอันตราย ก๊าซตัวไหนที่คุณต้องระวัง!

ก๊าซที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเราคงจะรู้กันดีอยู่แล้ว แต่ในส่วนของก๊าซที่เป็นพิษต่อร่างกายเรา ถ้าร่างกายได้รับก๊าซนี้มากเกินไปอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ซึ่งน้อยคนมากที่จะรู้ว่าก๊าซพิษเหล่านี้มีอะไรบ้าง แล้วอันตรายจากก๊าซเหล่านี้ส่งผลอะไรต่อร่างกายของเราบ้าง วันนี้ pico เตรียมข้อมูลส่วนนี้เอาไว้หมดแล้ว มาดูไปพร้อมกันเลย

5 ก๊าซอันตราย ที่คุณควรระวังเอาไว้ให้ดี

 

  1. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)
    ก๊าซพิษชนิดนี้เป็นก๊าซที่ใกล้ตัวเรามาก นั่นก็คือ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น โดยส่วนใหญ่ก๊าซชนิดนี้เกิดมาจากเครื่องยนต์ที่ทำงานเผาไหม้ที่ผิดปกติ และเป็นก๊าซพิษที่โรงงานมักจะปล่อยออกมา จึงทำให้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมออกมารณรงค์ ไม่ให้เปิดแอร์นอนในรถ เพราะก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ออกมาจากรถยนต์ออกมาทางท่อไอเสีย และอาจรั่วเข้าไปในตัวรถจนเกิดเป็นอันตรายแก่ชีวิต ซึ่งอาการหลังจากคุณรับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณไม่มาก จะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แต่หากรับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณที่มาก อาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้
  2. ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide)
    ก๊าซชนิดนี้ถือเป็นก๊าซที่อันตรายมากกว่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ หากก๊าซนี้ผสมอยู่ในอากาศ 100 ppm. มีผลทำให้ผู้ที่สูดดมหมดสติ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาแค่ 30-60 นาที ซึ่งก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์เกิดจากการเผาไหม้ที่เกิดจากองค์ประกอบของคลอรีน จำพวก พลาสติก ยาง เส้นใย ขนสัตว์ หนังสัตว์ ไม้ หรือผ้า หากเผาไหม้ในพื้นที่ปิด ในอาคาร หรือพื้นที่แคบ ถ้าสูดหายใจเข้าไปอาจทำให้หมดสติ ชัก และอาจทำให้เสียชีวิตภายในเวลาแค่ 5 นาที แต่ถ้ารับในปริมาณเล็กน้อย อาจทำให้มึนงง หายใจเร็ว อาเจียน หน้าแดง ปวดศีรษะ ชีพจรเต้นเร็ว
  3. ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ หรือก๊าซไข่เน่า (Hydrogen sulfide)
    ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ หรือ ก๊าซไข่เน่า ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานฟอกหนัง โรงงานผลิตกาว โรงงานผลิตน้ำตาล และก๊าซเหล่านี้จะเกิดขึ้นในน้ำเสีย น้ำเน่า และสิ่งสกปรก และก๊าซประเภทนี้ยังมีคุณสมบัติติดไฟง่าย อาจทำให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้ ซึ่งหากใครได้รับก๊าซพิษประเภทนี้อย่างฉับพลันและในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการคลื่นไส้ หายใจติดขัด เนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน หากรับไปในปริมาณมากอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้
  4. ก๊าซน้ำตา (Lachrymator หรือ Tear gas)
    ก๊าซน้ำตา หรือ ก๊าซคลอโรอะซิโตฟีโนน ซึ่งเป็นก๊าซที่ใช้สำหรับปราบปรามการชุมนุมที่ทั่วโลกใช้กัน ซึ่งก๊าซชนิดนี้เป็นอันตรายต่อเส้นประสาทตา ที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบที่ตา มีอาการน้ำตาไหลสมชื่อก๊าซน้ำตา ถ้าความเข้มข้นในชั้นบรรยากาศสูง อาจทำให้เกิดอาการปวดบวมน้ำ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทางที่ดีในการแก้พิษเบื้องต้น คือนำผู้ที่มีอาการเหล่านี้ออกจากพื้นที่ที่มีก๊าซ หากถูกผิวหนังควรรีบล้างด้วยน้ำพร้อมสบู่ ถ้าหากเกิดอาการตาบวม น้ำตาไหลไม่หยุดให้รีบล้างตาด้วยโซเดียมไบคาร์บอนเนต 2% อาการเหล่านี้จะบรรเทาลง
  5. ก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia)
    เป็นก๊าซที่เรารู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเรามักจะสูดดมก๊าซแอมโมเนียเวลาที่เรารู้สึกเหนื่อย อ่อนล้า คล้ายจะเป็นลม เมื่อสูดก๊าซแอมโมเนียในปริมาณที่พอดีจะช่วยแก้อาการวิงเวียน แต่ถ้าเราสูดดมแอมโมเนียเป็นเวลาอาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ รวมถึงก๊าซแอมโมเนียยังเป็นก๊าซที่เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรมอย่างเช่น โรงงานเผาถ่าน ฟอกหนัง และโรงงานน้ำตาล ถ้ารับแอมโมเนียในปริมาณในระดับกลางจะทำให้จาม น้ำตาไหล แสบคอ ไอมีเสมหะ สำลัก หายใจติดขัด เสียงแหบ แต่ถ้าความเข้มข้นสูงอาจทำให้หมดสติ และถึงแก่ชีวิตได้ ทั้งนี้หากคุณทำงานภายในโรงงาน คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่าโรงงานของคุณมีก๊าซพิษรั่วไหลหรือไม่ คุณจำเป็นจะต้องมีเครื่องวัดก๊าซ หรือเครื่องตรวจจับก๊าซ เพื่อตรวจก๊าซพิษที่อาจก่อความอันตรายต่อชีวิตของคุณ ทั้งนี้คุณสามารถเข้าเว็บไซต์ Pico เพื่อสอบถามเครื่องวัดแก๊ส และเครื่องตรวจจับแก๊ส ว่าการทำงานของมันเป็นอย่างไร สามารถตรวจจับก๊าซอะไรได้บ้าง

โพสเมื่อ: วันพุธ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563

  • Language