โซลาร์เซลล์ คืออะไร ทำความรู้จักกับพลังงานสะอาดทางเลือกใหม่ของยุคนี้

โซลาร์เซลล์

พลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ขับเคลื่อนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในยุคนี้ ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็น, เตาอบ, โทรทัศน์, เครื่องปรับอากาศ, คอมพิวเตอร์ ไปถึงโทรศัพท์มือถือ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ซึ่งอย่างที่ทราบกันดี ไฟฟ้าได้กลายเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคทั่วไปอย่างเราไม่สามารถทำอะไรได้

แต่สำหรับยุคนี้ ได้มีทางเลือกอื่นที่จะได้พลังงานไฟฟ้า โดยไม่จำเป็นต้องซื้ออย่างเดียวเท่านั้น ในครัวเรือนก็สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เองได้ ซึ่งวิธีที่เป็นที่นิยมก็คือ การติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่จะช่วยเก็บพลังงานแสงจากแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า

ซึ่งในบทความนี้เราจะพามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโซล่าเซลล์ ตั้งแต่แผงโซล่าเซลล์มีกี่ประเภท มีหลักการทำงานอย่างไร มีข้อดี ข้อจำกัดอย่างไร ราคาแผงโซล่าเซลล์ ไปจนถึงวิธีการดูแลรักษา และการติดตั้งโซล่าเซลล์ เรียกได้ว่าครบเครื่องทุกเรื่องเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดทางเลือกใหม่ สำหรับคนยุคใหม่


สารบัญบทความ


โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) นวัตกรรมนี้ คืออะไร ?

 

โซลาร์เซลล์ คืออะไร


โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) หรือสามารถเรียกได้อีกชื่อว่าเซลล์แสงอาทิตย์คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงจากแสงอาทิตย์ มาแปรสภาพให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นการเปลี่ยนแสงอาทิตย์ที่ร้อนเกินทนในประเทศเรา ให้มาเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซล่าเซลล์นั้นเป็นไฟฟ้าที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที

หลายคนอาจเข้าใจว่า การนำโซลาร์เซลล์มาใช้เป็นเรื่องที่ไกลตัว แต่แท้จริงแล้วนวัตกรรมนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาค่าไฟฟ้าแพง และเทรนด์กระแสเกี่ยวกับการดูแลรักษาธรรมชาติก็เป็นที่นิยมมากขึ้น ซึ่งการติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด และเป็นทรัพยากรที่มีไม่จำกัด นำมาใช้ประโยชน์ และยังช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ลดค่าไฟที่ต้องจ่าย

ทำให้โซลาร์เซลล์ได้กลายเป็นที่นิยม ถูกนำมาใช้ทั้งในระดับครัวเรือน ไปจนถึงระดับผู้ประกอบการ มีการติดโซล่าเซลล์ตามหลังคา แต่นอกจากบนหลังคาดาดฟ้า ก็มีโซล่าเซลล์ลอยน้ำให้เห็นได้เช่นกัน แสดงให้เห็นถึงความนิยมที่มากขึ้นของโซลาร์เซลล์


หลักการทำงานของโซลาร์เซลล์


หลักการทำงานของโซล่าเซลล์ หากอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ก็คือ การเปลี่ยนพลังงานพลังงานแสงมาเป็นพลังงานไฟฟ้า หากลงรายละเอียดขั้นตอน แสงอาทิตย์จะตกกระทบไปที่สารกึ่งตัวนำที่ทำจากซิลิคอนที่ติดอยู่บนแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งเมื่อแสงตกกระทบแล้วมันจะอาศัยการทำงานผ่านปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก และแปลงสภาพไปเป็นพลังงานไฟฟ้าในที่สุด 

โดยกระบวนการทำงานของโซล่าเซลล์นั้นสามารถสรุปได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้ 

  1. โซลาร์เซลล์ รับแสงแดด เปลี่ยนมาเป็นพลังงานไฟฟ้า
  2. มีกระบวนการปรับแรงดันไฟฟ้าที่ผลิตที่ได้ด้วยเครื่องควบประจุ โดยมันจะคอยปรับควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้เป็นกระแสตรง มีความแรง 12V
  3. แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้เป็นกระแสสลับด้วยตัวแปลงกระแส Inverter เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)เพื่อให้สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ในครัวเรือน
  4. พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตสามารถนำมาเก็บสำรองในแบตเตอรี่ได้

โซลาร์เซลล์มี 3 ประเภท มีอะไรบ้าง


โซลาเซลล์นั้น ภาพที่หลายคนนึกขึ้นได้ก็จะเป็นแผงกระจกที่ตั้งเรียง ๆ กัน แต่แท้จริงแล้วโซลาร์เซลล์นั้นมีถึง 3 ประเภท ซึ่งมีหลักการทำงานที่แตกต่างกันไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. โซลาร์เซลล์ ประเภท Off grid


เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่ไม่เชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้าภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง เป็นระบบที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองทั้งหมดโดยไม่ต้องพึ่งการไฟฟ้า ซึ่งกระบวนการทำงาน คือ แผงโซล่าเซลล์จะผลิตพลังงานไฟฟ้านำมาใช้ และมีการเก็บเข้า Battery ที่ได้ติดตั้งไว้เป็นพลังงานสำรอง 

อย่างไรก็ตามข้อด้อยของมัน คือ หากไม่มีแดด การผลิตไฟฟ้าอาจจะได้น้อยกว่าที่ควร ส่งผลให้มีพลังงานไม่เพียงพอ แต่สามารถแก้ไขได้โดยเพิ่มปริมาณของแผงโซล่าเซลล์ เพื่อให้สามารถเก็บพลังงานได้เพียงพอต่อการใช้งาน

โซลาร์เซลล์ ประเภท Off grid

2. โซลาร์เซลล์ ประเภท On grid


โซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า หากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ไม่เพียงพอ ก็สามารถดึงจากการไฟฟ้ามาใช้ได้ ทำให้โซลาร์เซลล์แบบ On grid ไม่จำเป็นต้องมี Battery เพื่อเก็บพลังงานสำรอง แม้จะประหยัดกว่าแบบ Off grid แต่ก็ยังจำเป็นต้องพึ่งการไฟฟ้าอยู่

โซลาร์เซลล์ ประเภท On grid

3. โซลาร์เซลล์ ประเภท Hybrid


โซลาร์เซลล์ประเภท Hybrid หรือการต่อโซล่าเซลล์แบบผสมระหว่างแบบ On grid และ Off grid โดยมีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้าแบบ On grid และมีการติดตั้ง Battery แบบ Off grid โดยในตอนกลางวันจะใช้พลังงานจากแผงโซล่าเซลล์ และกลางคืนจะใช้พลังงานที่เก็บไว้ใน Battery แต่ถ้าหากพลังงานที่ผลิตขึ้นมาไม่เพียงพอ ก็สามารถดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้ทดแทนได้

โซลาร์เซลล์ ประเภท Hybrid


ประโยชน์ที่ได้จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์


โซลาร์เซลล์เป็นนวัตกรรมแนวใหม่ที่ให้ประโยชน์กับผู้ที่นำมันมาติดตั้ง จะเห็นได้จากมีคนจำนวนมากเริ่มติดตั้งโซลาร์เซลล์ บ้านหรือออฟฟิศต่าง ๆ ที่พึ่งเริ่มสร้างใหม่ ก็จะมีแผงโซล่าเซลล์ตั้งให้เห็น โดยประโยชน์ที่ได้จากการติดตั้งโซล่าเซลล์ มีดังนี้

  • โซล่าเซลล์เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดมาใช้แปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้า ต่างกับเชื้อเพลิงทั่วไป ทั้งถ่านหิน หรือน้ำมัน ทรัพยากรเหล่านี้มีจำกัด สามารถหมดลงได้ ซ้ำยังมีราคาแพง และกระบวนการเผาไหม้ของมันยังทำลายชั้นบรรยากาศ ในขณะที่กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่สร้างมลภาวะใด ๆ ต่อสิ่งแวดล้อม
  • ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เพราะราคาไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น เหมือนกับสินค้าอุปโภค บริโภคต่าง ๆ ดังนั้นหากลงทุนติดแผงโซล่าเซลล์ โดยไม่ต้องพึ่งใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ก็จะสามารถช่วยประหยัดค่าไฟ และไม่ต้องกังวลเมื่อเห็นข่าว ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น
  • การติดโซล่าเซลล์บนหลังคา ทำเลตรงนั้นนอกจากช่วยให้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้เต็ม ๆ ยังมีประโยชน์อีกข้อ คือ แผงโซล่าเซลล์สามารถดูดซับความร้อน ช่วยลดอุณหภูมิภายในตัวบ้านหรืออาคารได้
  • การติดตั้งโซล่าเซลล์ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับอสังหาริมทรัพย์ ช่วยให้ขายบ้านได้ในราคาที่สูงขึ้น

ข้อดีและข้อจำกัดของการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์


สำหรับคนที่ยังไม่เคยใช้โซลาร์เซลล์มาก่อน ก็อาจจะกำลังชั่งใจว่าจะคุ้มค่าหรือไม่ ดังนั้นเราจะมาดูข้อดี และข้อจำกัดของโซลาร์เซลล์ว่ามีอะไรบ้าง

ข้อดีของโซลาร์เซลล์

  • ข้อดีของโซลาร์เซลล์ จากที่กล่าวไว้ข้างต้น การผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
  • พลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ สามารถไปใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภท ดังนั้นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า และช่วยให้ชุมชนที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้
  • การใช้แผงโซล่าเซลล์ ง่ายกว่าที่คิด เมื่อติดตั้งเสร็จสิ้นโดยช่างเฉพาะทางแล้ว การใช้มันต่อจากนั้นก็มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน

ข้อจำกัดของโซลาร์เซลล์

  • การผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์อาจไม่เพียงพอต่อการใช้งานในครัวเรือน หากในบ้านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก ก็อาจมีพลังงานไม่เพียงพอ หากในวันนั้นฟ้าครึ้ม ไม่มีแสงแดดเพียงพอ
  • เพราะโซลาร์เซลล์ก็มีขนาดใหญ่จึงจำเป็นต้องมีพื้นที่มากพอ และเพื่อชดเชยเรื่องพลังงานไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการติดตั้งโซล่าเซลล์เพิ่มเติม อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะตามมา คือ ต้องมีพื้นที่มากพอให้สามารถติดตั้งได้

ระบบโซลาร์เซลล์ มีส่วนประกอบสำคัญอะไรบ้าง ?


ก่อนติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ อีกสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ ก็คือ ระบบโซลาร์เซลล์นั้นมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ซึ่งการรู้ทุกส่วนประกอบจะช่วยให้เราเข้าใจ ขั้นตอนการทำงานของมันได้ละเอียดมากขึ้น โดยส่วนประกอบสำคัญของโซลาร์เซลล์ มีดังนี้

1. แผงโซลาร์เซลล์


เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบโซลาร์เซลล์ แผงโซล่าเซลล์เป็นส่วนที่มีหน้าที่ในการดูดซับพลังงานจากแสงอาทิตย์ และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้ง เพราะขนาดของแผงโซล่าเซลล์ส่งผลต่อการดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ ว่าจะรับได้มากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้แผงโซล่าเซลล์นั้น ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ซึ่งมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน

  • โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

ข้อดี : มีคุณภาพสูง สามารถผลิตไฟฟ้าได้ดี แม้ในวันที่แสงแดดน้อย มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 25 – 40 ปีและอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 25-40 ปี
ข้อเสีย : มีราคาสูง และต้องค่อยหมั่นดูแลทำความสะอาด เพราะคราบสกปรกบนแผงโซล่าเซลล์จะส่งผลต่อการปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้า

  • โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

ข้อดี : มีราคาถูกรองลงมาจากโมโนคริสตัลไลน์ และสามารถทนอุณหภูมิที่สูงกว่าโมโนคริสตัลไลน์เล็กน้อย
ข้อเสีย : มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าที่ต่ำกว่าโมโนคริสตัลไลน์ และมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า อยู่ที่ประมาณ 20-25 ปี

  • แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

ข้อดี : มีราคาถูกที่สุด มีน้ำหนักเบา และสามารถโค้งงอได้ดี
ข้อเสีย : ผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุด มีอายุการใช้งานสั้น เหมาะกับใช้ในครัวเรือนเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้

 

แผงโซล่าเซลล์

2. เครื่องแปลงไฟฟ้าสำหรับโซลาร์เซลล์ (Inverter)


เมื่อแผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าออกมาเป็นไฟฟ้ากระแสตรง การนำไปใช้งานต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับก่อน ซึ่งในการเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นหน้าที่ของเครื่องแปลงไฟฟ้าหรือ Inverter โดย Inverter สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ

  • แบบ Stand-Alone : เป็น Inverter ที่ใช้กับโซลาร์เซลล์ประเภท Off grid
  • แบบ Grid-Tied : เป็น Inverter ที่ใช้กับโซลาร์เซลล์ประเภท On grid

เครื่องแปลงไฟฟ้าสำหรับโซลาร์เซลล์

3. แบตเตอร์รี่ (Battery)


สำหรับโซลาร์เซลล์แบบ Off grid จำเป็นต้องมี Battery ซึ่งหน้าที่หลักของมัน คือ การเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้นำมาใช้เมื่อไม่มีแสงอาทิตย์ เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง

แบตเตอรี่ สำหรับโซลาร์เซลล์

4. มิเตอร์ไฟฟ้า


ในแต่ละวันแผงโซลาร์เซลล์สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เท่าไหร่ มีการใช้ไฟฟ้าไปเท่าไหร่ และมีการดึงไฟฟ้าจากระบบของกระแสไฟฟ้าเท่าไหร่ มิเตอร์ไฟฟ้าจะเป็นอุปกรณ์ที่คอยบอกข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าที่เราผลิตได้ และมีการใช้ไป เป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ใช้ควรรับรู้ เพื่อวางแผน ปรับการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม

มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับโซลาร์เซลล์


ควรทราบอะไรบ้างก่อนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์


ประโยชน์ของโซลาร์เซลล์นั้นมีอยู่มากมาย ทำให้มันเป็นที่นิยมอย่างมาก สำหรับผู้ที่สนใจนำโซลาร์เซลล์มาใช้ ใช่ว่าจะสามารถติดตั้งได้ทันที แต่จำเป็นต้องทำการบ้านเสียก่อน ซึ่งสิ่งที่ควรทราบก่อนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. ตรวจสอบความพร้อมเบื้องต้น : กำลังไฟฟ้าที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ใช้ปริมาณเท่าไหร่ เพื่อจะได้เตรียมแผงโซล่าเซลล์ที่มีขนาดเหมาะสม นอกจากนี้พื้นที่ในการติดตั้งก็ต้องตรวจสอบเช่นกัน สำหรับในกรุงเทพที่มีพื้นที่น้อย จำเป็นต้องติดบนดาดฟ้า หรือหลังคา จำเป็นต้องตรวจสอบความแข็งแรงของหลังคาที่ติดตั้ง และจำเป็นต้องดูทิศทางของแดด เพื่อให้โซลาร์เซลล์รับแสงแดดได้มากที่สุด
  2. เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม : จากที่กล่าวไว้ข้างต้นแผงโซล่าเซลล์นั้นมีอยู่ 3 ประเภท ซึ่งคุณสมบัติและราคาของมันก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้นควรเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานเราได้มากที่สุด
  3. เลือกผู้รับเหมาติดตั้ง : การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญ เพราะการติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็เหมือนต่อเติมบ้าน ดังนั้นเพื่อให้การติดตั้งมีคุณภาพควรเลือกช่างที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ 

วิธีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์


การติดตั้งโซล่าเซลล์ เริ่มจากการพื้นที่ ๆ เหมาะสม มีความแข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์ได้ เตรียมโครงสร้างเพื่อใช้รองรับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์ เช่น ขาตั้ง หรือวัสดุยึดสำหรับติดบนหลังคา จากนั้นทำการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ และติดตั้งเครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter) พร้อมอุปกรณ์อื่น ๆ จากนั้นติดตั้งสายไฟและท่อร้อยสายไฟ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ และระบบไฟฟ้าของบ้านเข้าด้วยกัน เพื่อให้ใช้งานได้


โซลาร์เซลล์ ราคาประมาณเท่าไหร่


มาถึงส่วนสำคัญที่หลายคนอยากทราบ การติดตั้งโซล่าเซลล์ ราคาอยู่ที่เท่าไหร่ หากต้องการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร โดยเรานำแพกเกจจาก PICO ผู้เชี่ยวชาญและให้บริการด้านการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ซึ่งสิ่งที่ได้รับจากแพกเกจ จะมีดังนี้

  1. แผงโซล่าเซลล์ ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 5.45 kwp หรือประมาณ 5,450 วัตต์ สามารถช่วยประมาณค่าไฟฟ้าได้เฉลี่ยประมาณ 2,500 – 3,000 บาทต่อเดือน
  2. เครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter)
  3. ฟรี สำรวจพื้นที่ เพื่อตรวจสอบความพร้อมในการติดตั้งสำหรับช่างผู้ชำนาญการ
  4. ฟรี ดำเนินการขออนุญาตติดตั้งกับการไฟฟ้า
  5. ฟรี ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ พร้อมรับประกัน 2 ปี
  6. ฟรี บริการดูแล ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ พร้อมเช็คระบบการทำงาน ปีละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 ปี

โดยมีราคาอยู่ที่ 185,000 สำหรับ 1 Phase และราคา 195,000 บาท สำหรับ 3 Phase โดยราคานี้สำหรับพื้นที่กรุงเทพ และปริมณฑลเท่านั้น


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์


1. โซลาร์เซลล์ช่วยประหยัดไฟได้จริงไหม ?


โซลาร์เซลล์ นั้นสามารถประหยัดไฟได้จริง เพราะการติดตั้งโซล่าเซลล์จะช่วยให้เราสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เอง หลีกเลี่ยงปัญหาค่าไฟแพง แม้ว่าราคาการติดตั้งอาจจะสูง แต่หากมองในระยะยาว จะช่วยประหยัดค่าไฟไปได้มากเลยทีเดียว

2. ติดตั้งโซลาร์เซลล์เองได้ไหม ?


การติดตั้งโซล่าเซลล์ ควรติดตั้งด้วยช่างผู้เชี่ยวชาญ เพราะระบบไฟฟ้าเป็นระบบที่หากติดตั้งได้ไม่ดี จะมีอันตรายตามมา ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งด้วยตนเอง

3. โซลาร์เซลมีกี่เทียร์ เทียร์ 1 ดีที่สุดหรือเปล่า ?


อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น แผงโซล่าเซลล์มีอยู่ 3 แบบ ซึ่งมีคุณสมบัติ ราคาที่แตกต่างกันไป จริงอยู่ที่ โซลาร์เซลล์เทียร์ 1 ที่มีคุณภาพสูงสุดจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มาก แต่ก็มาพร้อมกับราคาที่สูงเช่นกัน ดังนั้นการจะบอกว่าโซลาร์เซลล์เทียร์ไหนดีที่สุด เราต้องสำรวจตนเองเบื้องต้น ในเรื่องเกี่ยวกับการใช้ไฟต่อเดือน หากไม่ได้ใช้สูงมาก เทียร์อื่น ๆ ก็อาจจะตอบโจทย์ได้ดีกว่า


มองการไกลไปข้างหน้า ด้วยการติดตั้งโซลาร์เซลล์ 


โซลาร์เซลล์นั้นไม่ได้สร้างประโยชน์แค่ประหยัดค่าไฟให้กับเจ้าของเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมเช่นกัน ภาวะโลกร้อน ปัญหามลพิษที่มากขึ้น เป็นปัญหาของทุก ๆ คน หากทุกคนหันมาใช้พลังงานสะอาดจะช่วยต่ออายุให้กับโลกของเราได้

สำหรับผู้ที่สนใจ และต้องการหันมาใช้โซลาร์เซลล์ ทั้งในระดับครัวเรือน หรือระดับผู้ประกอบการโรงงาน PICO พร้อมให้ความช่วยเหลือ เรามีบริการที่ครบวงจรตั้งแต่การออกแบบเลือกโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสม พร้อมติดตั้งและรับประกัน จนถึงดูแลหลังการขาย ครบจบในที่เดียว สนใจติดต่อได้ที่

  • Language