การตรวจสอบคุณภาพน้ำ (Water Quality Monitoring) มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

การตรวจสอบคุณภาพน้ำ

น้ำถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายและถือได้ว่าเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่มีความสำคัญกับการดำรงชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำในภาคครัวเรือน ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือด้านการเกษตร ดังนั้นการตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วยเครื่องวัดคุณภาพน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราทราบคุณสมบัติและความบริสุทธิ์ของน้ำก่อนนำไปใช้งานในด้านต่าง ๆ 

โดยในบทความนี้จะอธิบายว่าการตรวจสอบคุณภาพน้ำคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรบ้าง? พร้อม Parameter และวิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำให้ได้ทราบกัน

สารบัญบทความ

การตรวจสอบคุณภาพน้ำคืออะไร?

รับตรวจคุณภาพน้ำ

ขอบคุณภาพจาก https://pico.co.th/wp-content/uploads/2023/01/h-50_b.jpg

การตรวจสอบคุณภาพน้ำคือกระบวนการวัดคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของน้ำ เพื่อพิจารณาว่าเหมาะสมสำหรับการใช้งานในด้านที่ต้องการหรือไม่อย่างเช่น การดื่ม การเกษตร หรือการทำชลประทานเป็นต้น ซึ่งการตรวจสอบคุณภาพน้ำสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์ที่วัดและระดับความแม่นยำที่ต้องการเช่น

  • การทดสอบทางกายภาพ: จะเป็นการตรวจวัดคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำเช่น อุณหภูมิ สี ความขุ่น และการนำไฟฟ้า เป็นต้น
  • การทดสอบทางเคมี: จะเป็นการตรวจวัดคุณสมบัติทางเคมีของน้ำเช่น ค่า pH ความเป็นกรด-เบส การตรวจสอบค่าไนเตรดหรือฟอสเฟส เป็นต้น
  • การทดสอบทางชีวภาพ: จะเป็นการตรวจวัดคุณสมบัติทางชีวภาพของน้ำเช่น การตรวจเช็กแบคทีเรีย สาหร่าย หรือโปรโตซัว เป็นต้น

การตรวจสอบคุณภาพน้ำมีประโยชน์อย่างไร?

หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจกันไปแล้วว่าการตรวจสอบคุณภาพน้ำคืออะไร ต่อไปเราจะมาดูประโยชน์ของการตรวจสอบคุณภาพน้ำกันว่ามีอะไรบ้าง

ช่วยให้ทราบคุณสมบัติของน้ำ

การตรวจสอบคุณภาพน้ำจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจคุณสมบัติต่าง ๆ ของน้ำไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี หรือทางชีวเคมีก็ตาม ซึ่งในบางครั้งเราไม่สามารถแยกออกได้ด้วยตาเปล่า

ช่วยระบุสิ่งเจือปนภายในน้ำประปา

สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาจะทำให้ทราบสิ่งเจือปนภายในน้ำไม่ว่าจะเป็นโลหะหนักหรือสารเคมีภายในน้ำ ซึ่งการตรวจน้ำประปาเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคอยควบคุมคุณภาพน้ำเพื่อให้เหมาะกับการใช้บริโภค

ช่วยวิเคราะห์ต้นตอของมลพิษทางน้ำ

เมื่อเราได้ทำการวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ จะทำให้เราทราบสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำได้ ว่ามีผลกระทบมาจากสิ่งใด

ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

สุดท้ายแล้วการตรวจสอบคุณภาพน้ำไม่ว่าจะมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือมาจากแหล่งบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม การตรวจสภาพน้ำให้เป็นไปมาตรฐานก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติจะช่วยลดผลกระทบจากมลพิษทางน้ำที่อาจส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมได้ และยังช่วยให้เราตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติมีผลการตรวจวัดคุณภาพที่ผิดปกติอีกด้วย

วิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

ตรวจสอบคุณภาพน้ำ

ขอบคุณภาพจาก https://pico.co.th/wp-content/uploads/2023/01/prod-prod-AQUAREAD-2.jpg

วิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำนั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์ที่วัดและระดับความแม่นยำที่ต้องการ โดยสามารถแบ่งวิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

การทดสอบทางกายภาพ

วิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างแรกคือ การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำ โดยพารามิเตอร์ในการทดสอบจะมีดังนี้

  • อุณหภูมิ: ซึ่งอุณหภูมิของน้ำจะส่งผลต่อปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ
  • ค่า pH: ค่า pH จะบ่งบอกถึงความเป็นกรด-ด่างของน้ำ
  • ความขุ่น: ความขุ่นของน้ำจะบ่งบอกถึงปริมาณของของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ
  • การนำไฟฟ้า: การนำไฟฟ้าจะบ่งบอกถึงปริมาณเกลือแร่ที่ละลายอยู่ภายในน้ำ

การทดสอบทางเคมี

วิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำวิธีที่สองคือ การทดสอบคุณสมบัติทางเคมีของน้ำ โดยพารามิเตอร์ในการทดสอบจะมีดังนี้

  • ค่า COD: ความต้องการออกซิเจนทางเคมีหรือ ค่า COD คือ ค่าที่บ่งบอกถึงปริมาณสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ในน้ำ
  • ค่า BOD: ค่า BOD หรือความต้องการออกซิเจนทางชีวภาพ จะบ่งบอกถึงปริมาณสารอินทรีย์ที่ย่อยโดยจุลินทรีย์ในน้ำ
  • ไนเตรต: ไนเตรตเป็นสารอาหารที่พืชต้องการ แต่ปริมาณไนเตรตภายในน้ำที่สูงอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์ได้
  • ฟอสเฟต: ฟอสเฟตเป็นสารอาหารที่พืชต้องการ แต่ปริมาณฟอสเฟตที่สูงเกินไปอาจส่งผลเสียต่อระบบนิเวศได้

การทดสอบทางชีวภาพ

วิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างสุดท้ายคือ การทดสอบคุณสมบัติทางชีวภาพของน้ำ โดยจะเป็นการวัดปริมาณและตรวจสอบชนิดของสิ่งมีชีวิตภายในน้ำเช่น แบคทีเรีย สาหร่าย แพลงก์ตอนพืช หรือแพลงก์ตอนสัตว์ เป็นต้น

Parameter ที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำจะมีพารามิเตอร์ในการตรวจสอบแตกต่างกันออกไปตามคุณสมบัติทางกาย ทางเคมี และทางชีวภาพ โดยพารามิเตอร์หลัก ๆ ที่มักนิยมใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของน้ำจะมีดังนี้

    • ค่า pH: การวัดค่า pH ของน้ำจะเป็นการวัดปริมาณไฮโดรเจนไอออน (H+) ที่มีอยู่ภายในน้ำ ซึ่งถ้าหากมีค่า H+ อยู่มากจะส่งผลให้น้ำมีความเป็นกรดสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำได้
    • อุณหภูมิ: อุณหภูมิของน้ำส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำโดยตรง อุณหภูมิที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปสามารถส่งผลต่อระดับออกซิเจนภายในน้ำ และความสามารถในการต้านทานสารมลพิษของสิ่งมีชีวิตบางชนิดได้
  • ค่า Conductivity: การวัดค่า Conductivity หรือค่าการนำไฟฟ้า (EC) คือ เป็นการวัดความจุของน้ำในการนำไฟฟ้า ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณของแข็งที่อยู่ในรูปไอออนภายในน้ำ
  • ความกระด้าง: การวัดความกระด้างของน้ำจะขึ้นอยู่กับปริมาณของแคลเซียมและแมกนีเซียมที่ละลายอยู่ภายในน้ำ ซึ่งสารสองตัวนี้จะเป็นตัวกำหนดความกระด้างของน้ำ

นอกจากนี้ยังมีค่าพารามิเตอร์อื่นที่เป็นนิยมในการตรวจสอบคุณภาพน้ำอีกเช่น

  • ค่า Total Dissolved Solids (TDS) คืออะไร?
  • ค่า Oxidation Reduction Potential (ORP) คืออะไร?

สรุปข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

การตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นการศึกษาคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ของน้ำทั้งคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้วิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำได้กับหลากหลายสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบตัวอย่างน้ำในแหล่งน้ำ การทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของของเหลว หรือแม้แต่การตรวจสอบค่าคลอรีนสระว่ายน้ำเพื่อให้ระดับของคลอรีนมีความเหมาะสมในการใช้ทำกิจกรรมว่ายน้ำ สำหรับการวัดคุณภาพน้ำนั้น เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับพารามิเตอร์แต่ละตัวที่ใช้ในการทดสอบคุณภาพน้ำ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการทดสอบ

หากคุณกำลังมองหาเครื่องวัดคุณภาพน้ำคุณภาพดี ทนทาน สามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำได้อย่างแม่นยำ พร้อมทั้งอุปกรณ์ห้องแลปและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ถ้าหากสนใจสามารถดูแคตตาล็อกกลุ่มสินค้าเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:

บริษัท เพทโทร-อินสตรูเมนท์ จำกัด (สำนักงานใหญ่)

ที่อยู่ : เลขที่ 7/409 ซอยวิภาวดีรังสิต 36 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 (ประเทศไทย)

เวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30-17:30 น. (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์)

Tel : (+66)2-939-5711, (+66)2-513-2333

Email : marketing@pico.co.th

Facebook : https://www.facebook.com/Petro.Instruments/

 

  • Language