หมวดหมู่: บทความ

Moisture คือ

Moisture คืออะไร? สามารถตรวจวัดปริมาณความชื้นได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?

Moisture คือ ความชื้นที่มีอยู่ในวัตถุหรืออากาศรอบตัวเรา โดยมีวิธีการตรวจวัดปริมาณความชื้นได้อย่างไรบ้าง? และการวัดความชื้นมีประโยชน์อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

หน่วยความชื้น

หน่วยความชื้น (Humidity unit)

หน่วยวัดความชื้น (Humidity Unit) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกอุตสาหกรรม เพื่อควบคุมดูแลคุณภาพของสินค้าและกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

PLC คือ

PLC คืออะไร? ช่วยขับเคลื่อนโรงงานสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างไร?

ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ล้วนนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิตมากขึ้น โดยหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีบทบาทอย่างมากนั่นคือ Programmable Logic Controller หรือโปรแกรม PLC คืออุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและกระบวนการทำงาน เนื่องจากคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ความต้องการทำให้ PLC เป็นระบบ Automationอันหัวใจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนโรงงานให้เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่ทุกอย่างเข้าสู่โลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารบัญบทความ PLC (Programmable Logic Controller) คืออะไร? ทำความรู้จักทุกเรื่องน่ารู้ของโปรแกรม PLC หลักการทำงานของ PLC PLC มีกี่ประเภท PLC ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง? รู้จัก 6 ส่วนประกอบหลักของ PLC ประโยชน์ของ PLC คืออะไรบ้าง? ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมต้องใช้ PLC? ข้อจำกัดของ PLC สรุปทุกข้อมูล! PLC คืออนาคตของโรงงานอุตสาหกรรมในยุค 4.0 PLC (Programmable Logic Controller) คืออะไร? ทำความรู้จักทุกเรื่องน่ารู้ของโปรแกรม PLC PLC คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งมีไมโครโปรเซสเซอร์ …

PLC คืออะไร? ช่วยขับเคลื่อนโรงงานสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างไร?อ่านเพิ่มเติม

Mass Spectrometry คือ

Mass Spectrometry คืออะไร? ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับเครื่องแมสสเปกโทรมิเตอร์

การวิเคราะห์โมเลกุลของสารต่างๆ อาจถือเป็นเรื่องยากในอดีต เนื่องจากสสารในระดับโมเลกุลและอะตอมนับว่าเป็นองค์ประกอบย่อยของสารที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่ปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดเครื่องมือหลากหลายชนิดที่ถูกพัฒนามาเพื่อจุดประสงค์นี้  Mass Spectrometry คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบของโมเลกุลของสารที่เราต้องการได้อย่างละเอียดและแม่นยำ ถือเป็นเทคนิคสำคัญในการวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของสารที่นิยมใช้ในเชิงวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม โดยบทความนี้จะกล่าวถึงเครื่องแมสสเปกโทรมิเตอร์ หลักการทํางานของมัน รวมถึงประโยชน์และข้อจำกัดต่างๆ ของเทคนิคนี้ในการนำมาใช้วิเคราะห์สาร เพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาหรือสนใจใช้งานเครื่องแมสสเปกโทรมิเตอร์อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด สารบัญบทความ Mass Spectrometry คืออะไร? หลักการทำงานของ Mass Spectrometry ส่วนประกอบของเครื่อง Mass Spectrometer ประโยชน์ของ Mass Spectrometry และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ข้อจำกัดของ Mass Spectrometry ที่ควรรู้มีอะไรบ้าง สรุป Mass Spectrometry คืออะไร? เหมาะสำหรับใคร? Mass Spectrometry คืออะไร? ที่มา: https://pico.co.th/product/prima-bt-bench-top-mass-spectrometer/   Mass Spectrometry คือ เทคนิคที่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีภายในสารที่ต้องการศึกษา โดยการทำให้สารนั้นแตกตัวออกเป็นประจุไอออน และวิเคราะห์ไอออนเหล่านั้น เพื่อแปลงค่าออกมาเป็นหน่วยอัตราส่วน mass to charge ratio หรือ ขนาดมวลต่อประจุ …

Mass Spectrometry คืออะไร? ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับเครื่องแมสสเปกโทรมิเตอร์อ่านเพิ่มเติม

Gas Detector

Gas Detector คืออะไร ตรวจวัดแก๊สอย่างไร ช่วยอะไรได้บ้าง?

Gas Detector คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง หลักการทำงานของตัวเครื่อง ทำความรู้จักกับ Gas Dectector พร้อมการเลือกซื้อครวรเลือกซื้อจากที่ใด

โซลาร์เซลล์

โซลาร์เซลล์ คืออะไร ทำความรู้จักกับพลังงานสะอาดทางเลือกใหม่ของยุคนี้

โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) คือ พลังงานทางเลือกใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมซึ่งใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการใช้ไฟฟ้า

ระบบ Automation

ระบบ Automation Control ยุคใหม่แห่งอุตสาหกรรม

ระบบ Automation คือ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมแทนแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า และช่วยลดเวลาและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากแรงงาน

CEMs

CEMsระบบตรวจวัดมลพิษทางอากาศสำคัญอย่างไร ทำไมต้องติดตั้ง

CEMsคืออะไร ทำไมจึงต้องมี CEMsในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ และ CEMsนี้เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายอย่างไรบ้าง? แน่นอนว่าหลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้จัก CEMsแต่ทุกคนคงเคยได้ยินชื่อของ PM2.5 และรู้จักปัญหามลพิษทางอากาศกันมาก่อน CEMsนี้จึงเป็นระบบที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหามลพิษและยังเป็นเครื่องมือวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย ปัญหาของฝุ่นPM2.5 ในประเทศไทยยังถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้มลพิษทางอากาศในประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายปี การทำความรู้จักกับ CEMsและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปพร้อม ๆ กันจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่โรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลายควรรู้ สารบัญบทความ CEMsคืออะไร? กฎหมายไทยและ CEMsที่ควรรู้ CEMsมีกี่ประเภท? ส่วนประกอบของ CEMs CEMsอ่านค่าอะไรได้บ้าง CEMsมีประโยชนอย่างไร โรงงานที่ต้องติดตั้งระบบ CEMS คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับระบบ CEMS CEMs ตัวช่วยเรื่องอุตสาหกรรมโดย PICO CEMsคืออะไร? CEMs (Continuous Emission Monitoring System) คือระบบตรวจวัดมลพิษทางอากาศที่ปล่อยจากปล่องอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลค่าต่าง ๆ จากของอากาศที่ถูกปล่อยออกมาจากปล่อง ทำการวัดค่าและวิเคราะห์ผลว่าอากาศที่ถูกปล่อยออกมาเป็นมลพิษมากน้อยแค่ไหน เพื่อควบคุมให้อยู่ภายใต้มาตรฐานที่กำหนด CEMs จึงถือว่าเป็นเครื่องวัดคุณภาพอากาศประเภทหนึ่ง การตรวจสอบมลพิษทางอากาศของโรงงานแต่ละประเภทอาจมีการใช้เชื้อเพลิงแตกต่างกัน รวมไปถึงอาจก่อให้เกิดมลพิษคนละรูปแบบกัน จึงส่งผลให้ค่าที่วัดผ่าน CEMs แตกต่างกันตามไปด้วย มาตรฐานคุณภาพอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งสำคัญที่โรงงานต่าง …

CEMsระบบตรวจวัดมลพิษทางอากาศสำคัญอย่างไร ทำไมต้องติดตั้งอ่านเพิ่มเติม

เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม

เครื่องมือวัดอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง?มีประโยชน์ต่อโรงงานยังไง?

เครื่องมือวัดอุตสาหกรรมที่ต้องมีติดโรงงาน ประกอบได้วยเครื่องมือหลายชนิดได้แก่ เครื่องวัดอัตราการไหล, เครื่องวัดชั่งน้ำหนัก, เกจวัด และอุปกรณ์อื่นๆอย่างเครื่องมือวัดไฟฟ้า

Gas Chromatography

Gas Chromatography คืออะไร ทำความเข้าใจก่อนซื้อเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ

Gas Chromatography คือ เทคนิคแยกสารตัวอย่างให้กลายเป็นไอเพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์องค์ประกอบของสารตัวอย่าง เหมาะกับการใช้งานทั้งด้านอุตสาหกรรมและการศึกษา

ความปลอดภัยของอุปกรณ์ในห้องแลป

ห้องแลปนั้นเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นสถานที่เพื่อการปฏิบัติงานแล้ว แน่นอนว่าต้องเต็มไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะอุปกรณ์ในห้องแลปที่ทำงานกับสารอันตรายอย่างกัมมันตรังสีหรือแลปนิติเวชศาสตร์ที่เน้นความถูกต้องแม่นยำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างการพิสูจน์ผลของศพที่ละเอียดอ่อน เครื่องวัดกัมมันตรังสีหรืออุปกรณ์ในห้องแลปนิติเวชศาสตร์จึงต้องการความปลอดภัยสูง คุณภาพของอุปกรณ์ในห้องแลปจึงต้องได้มาตรฐาน สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้ตลอดเวลา การใช้งานอุปกรณ์ในห้องแลปจึงต้องรักษามาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ขั้นตอนในการใช้อุปกรณ์ในห้องแลปให้ปลอดภัย ข้อแรก ในการใช้งานอุปกรณ์ในห้องแลปจะต้องเตรียมอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ เพราะเมื่ออยู่ระหว่างการปฏิบัติงานอาจไม่สามารถผละออกจากขั้นตอนหรือรอเวลาให้อุปกรณ์เตรียมพร้อมระหว่างการทดลองได้ การตรวจสอบอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานทันทีในการทดลองจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความปลอดภัยในห้องแลป นอกจากนี้ ต้องให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้นั้นได้ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้งานอย่างถูกต้อง หลีกเลี่ยงการเสี่ยงใช้งานอุปกรณ์ที่ชำรุดหรือไม่ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยจากรังสีและความแม่นยำของการใช้งานทางนิติเวชศาสตร์ ข้อสอง สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอยู่เสมอ ไม่เพียงแต่การเตรียมพร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ แต่อุปกรณ์ป้องกันของผู้ปฏิบัติงานเองก็มีความสำคัญเช่นกัน บางครั้ง การยึดมาตรฐานความปลอดภัยของอุปกรณ์ในห้องแลปเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความเสี่ยงในการทำงาน เช่นการวัดค่ากัมมันตรังสีที่อันตราย การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองอื่นๆ อย่างชุดป้องกันหรือแว่นตากันรังสีจึงช่วยให้มีความปลอดภัยได้มากขึ้นไปกว่าการพึ่งพาแค่อุปกรณ์วัดกัมมันตรังสี หรือการสวมใส่อุปกรณ์เพื่อป้องกันการปนเปื้อนในการทดสอบทางนิติเวชศาสตร์ เป็นต้น ข้อสาม มีความเข้าใจที่ชัดเจนในการใช้อุปกรณ์ในห้องแลป อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวัดค่ากัมมันตรังสีหรือการทดสอบทางนิติเวชศาสตร์นั้นมีวิธีใช้ที่ละเอียดอ่อนและเป็นอุปกรณ์ที่ต้องการความระมัดระวังในการใช้งานสูงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างถูกต้องแม่นยำ การทำความเข้าใจวิธีใช้อุปกรณ์อย่างถี่ถ้วนจึงเป็นเรื่องจำเป็นในการทำการทดลองให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องในระยะเวลาที่น้อยลง อีกทั้งความเข้าใจในอุปกรณ์ยังช่วยลดความเสี่ยงผิดพลาดระหว่างการทำงานจนเกิดอันตรายให้น้อยลงได้อีกด้วย ข้อสี่ จัดวางอุปกรณ์ในห้องแลปให้เรียบร้อย รู้หรือไม่ว่าความสะอาดและความเป็นระเบียบของพื้นที่ทำงานมีส่วนสำคัญในการทำงาน เพราะความเป็นระเบียบเรียบร้อยจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานหาอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลาและลดความเสี่ยงของการขาดตอนในขั้นตอนการทดสอบวัตถุอันตรายต่างๆ อีกทั้งการจัดวางอุปกรณ์ในห้องแลปให้เหมาะสมยังช่วยตัดโอกาสที่จะเลือกหยิบอุปกรณ์ผิดพลาดหรือเผลอปัดอุปกรณ์เสียหายเพราะความไม่เป็นระเบียบบนโต๊ะทำงานอีกด้วย และไม่ใช่เพียงแค่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการจัดวางอุปกรณ์เท่านั้น แต่ตำแหน่งยืนของผู้ปฏิบัติงานก็ถือเป็นส่วนสำคัญด้วยเช่นกัน ให้ตรวจสอบระดับของเก้าอี้หรือตำแหน่งยืนในการปฏิบัติงานไม่ให้หยิบอุปกรณ์ยากลำบากเกินไปและให้สามารถควบคุมการทดลองได้ถนัดมากขึ้น ข้อห้า ปฏิบัติตามกฏของห้องแลปอย่างเคร่งครัด ในการทำงานแต่ละครั้งอาจมีปัจจัยที่ต้องควบคุมแตกต่างกันออกไป ทำให้กฏเพื่อความปลอดภัยและเพื่อผลลัพธ์ของการทำงานในแต่ละแลปมีความแตกต่างกันไปด้วย การศึกษาและปฏิบัติตามกฏอย่างเคร่งครัดจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอันตรายในห้องแลปทั้งต่อผู้ปฏิบัติงานเองและอุปกรณ์การทดลองให้น้อยลงได้ อีกทั้งยังทำให้ปัจจัยที่ต้องควบคุมของการทดสอบต่างๆ นั้นอยู่ในสภาพที่ถูกต้องด้วย ทั้งห้าข้อนี้แสดงให้เห็นว่าความจำเป็นในการรักษามาตรฐานความปลอดภัยและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในห้องแลปนั้นมีความสำคัญมาก หากจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมต่อการใช้งานก็จะช่วยลดความเสี่ยงอันตรายจากการทดลองลงไปได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้มาซึ่งความปลอดภัยและมาตรฐานที่ไว้ใจได้ นอกจากการใช้งานแล้วก็ต้องให้ความสำคัญของการเลือกใช้อุปกรณ์จากบริษัทที่ได้มาตรฐานและได้รับความไว้วางใจในเรื่องอุปกรณ์ในห้องแลปมาอย่างยาวนานอย่าง …

ความปลอดภัยของอุปกรณ์ในห้องแลปอ่านเพิ่มเติม

ความน่าเชื่อถือของเครื่องวัดฝุ่นพกพาและความจำเป็น

สภาพอากาศในปัจจุบันนี้ค่อนข้างแปรปรวนจากความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะจากความเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยหรือผลกระทบจากฝีมือมนุษย์ก็ตาม ทำให้ในทุกประเทศต้องพบกับปัญหาทางธรรมชาติทั้งภัยพิบัติร้ายแรงอย่างสึนามิ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และอื่นๆ อีกหลายอย่าง แต่สำหรับประเทศไทยเรานั้น ภัยที่กำลังเป็นปัญหาและยากที่จะแก้ไขอีกทั้งยังยากต่อการกำจัดนั่นคือสภาวะฝุ่นละอองในอากาศสูง โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างฝุ่น PM 2.5 และฝุ่น PM 10 ที่เริ่มไต่ระดับสะสมปริมาณในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งถึงขีดอันตรายและประกาศภาวะฝุ่นละอองสูงในที่สุด ปัญหาฝุ่นละอองนี้เกิดจากการสะสมตัวของควันรถ ท่อไอเสีย และจากการทำอุตสาหกรรมในโรงงานและการผลิตต่างๆ ที่ใช้หินและดินจนเกิดการฟุ้งกระจายของอณูฝุ่นละอองขนาดเล็ก ฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้มีอันตรายคือทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังหากสัมผัส เป็นอันตรายอย่างยิ่งหากเข้าสู่ดวงตาแล้วเกิดการระคายเคือง นอกจากนี้ ด้วยขนาดที่เล็กมากทำให้ทั้งฝุ่นละออง PM 2.5 และฝุ่น PM 10 สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย สามารถจับตัวในระบบทางเดินหายใจได้ผ่านการสูดดมเข้าสู่ร่างกายและเล็กเกินกว่าที่ระบบของร่างกายจะกรองเอาไว้ได้ ซึ่งการป้องกันอันตรายจากฝุ่นละอองนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดเพื่อป้องกันการสัมผัสฝุ่นละอองโดยตรง ทำให้ลดการระคายเคืองจากฝุ่นละอองได้มาก หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่เสี่ยงเช่นการจราจรที่คับคั่งและใกล้เคียงโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งไม่ลืมสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดการสูดดมฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย อย่างไรก็ตาม ฝุ่นละอองไม่ได้มีเพียงแค่ฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่น PM 10 เท่านั้น แต่ยังมีฝุ่นละอองโดยรวมอื่นๆ ด้วยที่มีอันตราย ด้วยขนาดของฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กจนก่อตัวได้ง่ายและไม่อาจป้องกันได้หมด ทำให้การหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่เมื่อฝุ่นละอองนั้นยากต่อการตรวจจับและบางครั้งอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เมื่อมองเห็นได้ก็อาจช้าเกินไปจนร่างกายสะสมฝุ่นละอองไว้จำนวนมากแล้ว จึงเกิดเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงฝุ่นละอองได้อย่างเครื่องวัดฝุ่นพกพาขึ้น เครื่องวัดฝุ่นนั้นเดิมเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นของโรงงานอุตสาหกรรม …

ความน่าเชื่อถือของเครื่องวัดฝุ่นพกพาและความจำเป็นอ่านเพิ่มเติม

ประโยชน์ของเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาและการจัดหาที่เหมาะสม

สภาพอากาศคือปัจจัยใกล้ตัวที่มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนอย่างมาก ทั้งอุณหภูมิ ทิศทางลม ความชื้น หรือฝนต่างๆ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสภาพอากาศที่ยากต่อการคาดเดา ไม่อาจควบคุมได้และมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ ต่อไป ในงานอุตสาหกรรมเองก็เช่นกัน ทั้งกระบวนการผลิต การทดลอง หรือการวิเคราะห์งานวิจัยใดๆ ล้วนมีปัจจัยของสภาพแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยรวมแล้ว เราอาจมองสภาพแวดล้อมเหล่านี้ว่าเป็นอุตุนิยมวิทยาก็ได้ หลายคนอาจเข้าใจว่าอุตุนิยมวิทยาคือการทำนายสภาพอากาศเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้ว การทำนายสภาพอากาศเป็นเพียงประโยชน์หนึ่งของการใช้งานปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาเท่านั้นอุตุนิยมวิทยา จึงเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ของสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม นอกจากการคาดเดาสภาพอากาศแล้ว อุตุนิยมวิทยายังใช้กับการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการเดินทางโดยเครื่องบิน การตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการผลิต สภาพแวดล้อมในการขนส่ง หรือสภาพแวดล้อมของการทำการวิจัยต่างๆ แต่อย่างที่กล่าวไปว่า ปัจจัยเหล่านั้นล้วนยากต่อการคาดเดา การทำงานกับปัจจัยเหล่านี้จึงต้องอาศัยเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์และวิจัยปัจจัยเหล่านี้โดยเฉพาะ เครื่องมือที่ออกแบบมาเฉพาะด้านนี้เรียกว่าเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาเครื่องมืออุตุนิยมวิทยามีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ตัวอย่างเช่นเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาเพื่อวัดอุณหภูมิ อุณหภูมิคือปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมอย่างมาก เพราะในการทำงานสายอุตสาหกรรมหรือการทดลองอาจจำเป็นต้องควบคุมความร้อนและความเย็นของกระบวนการ ตัวอย่างเช่นสารบางชนิดอาจจำเป็นต้องอยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำเพื่อรักษาสภาพของสารไม่ให้เปลี่ยนแปลงไป หรือสารบางชนิดอาจต้องการอุณหภูมิสูงเพื่อฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น เครื่องมืออุตุนิยมวิทยาที่ใช้วัดอุณหภูมิมักรู้จักกันในชื่อเทอร์มอมิเตอร์ และเป็นเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาหนึ่งที่ใช้กันบ่อย แม้แต่ในบ้านหรือครัวเรือนก็มีการใช้งานเทอร์มอมิเตอร์ด้วยเช่นกัน นอกจากเทอร์มอร์มิเตอร์แล้ว เครื่องมืออุตุนิยมวิทยาที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในงานอุตสาหกรรมคือไฮโกรมิเตอร์ ไฮโกรมิเตอร์คือเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาที่ใช้เพื่อวัดความชื้นสัมพัทธิ์ ความชื้นคือปัจจัยหนึ่งที่นอกจากมีผลกระทบต่อสภาพอากาศแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการเก็บรักษาวัสดุรวมถึงการใช้ชีวิตของสิ่งมีชีวิตอีกด้วย ตัวอย่างเช่น สภาวะที่มีความชื้นสูงอาจเป็นแหล่งก่อเชื้อราได้ โดยเฉพาะหากเก็บวัสดุประเภทไม้ที่สามารถเป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา ก็จะทำให้วัสดุไม้เกิดความเสียหายได้ หรืออาจส่งผลให้วัสดุเหล็กนั้นทำปฏิกริยาเกิดเป็นสนิมได้ ไม่เพียงแต่ความชื้นสูงเท่านั้น แต่ความชื้นต่ำเองก็สามารถก่อให้เกิดผลเสียได้ โดยเฉพาะกับสิ่งมีชีวิต หากอยู่ในพื้นที่ที่ความชื้นต่ำจะทำให้มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้การหายใจนั้นติดขัดได้ อากาศแห้งจะทำให้อวัยวะทำงานไม่เต็มที่หรือเกิดการฉีกขาดได้ง่าย การใช้เครื่องมืออุตุนิยมวิทยาอย่างไฮโกรมิเตอร์วัดความชื้นจึงเป็นเครื่องมือจำเป็นในงานอุตสาหกรรมเก็บรักษาวัสดุและในครัวเรือน …

ประโยชน์ของเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาและการจัดหาที่เหมาะสมอ่านเพิ่มเติม

ที่ปรึกษาเครื่องวัดขนาดอนุภาคที่ดี ต้องไว้ใจ pico

โรงงานอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นการผลิต การให้บริการหรือการทดลอง ล้วนต้องอาศัยเครื่องมืออำนวยความสะดวกมากมายหลายอย่าง ซึ่งแต่ละอุปกรณ์ก็จำเป็นที่จะต้องเลือกสรรอย่างดีให้เหมาะสมต่อการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความแตกต่างกันออกไปทั้งขนาดและการใช้งานอุปกรณ์ โดยหนึ่งในอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างหนึ่งของงานอุตสาหกรรมคือเครื่องวัดขนาดอนุภาค เครื่องวัดขนาดอนุภาคคืออะไร ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าอนุภาคคือส่วนประกอบของสารต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของหรือสิ่งแวดล้อมล้วนแต่กำเนิดขึ้นมาจากการรวมตัวกันอนุภาคขนาดเล็กหลายอนุภาค โดยสารนั้นแบ่งออกเป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊สโดยจำแนกจากการรวมตัวของอนุภาคนั่นเอง ซึ่งอนุภาคที่อยู่รวมกันอย่างเป็นระเบียบ มีความใกล้ชิดกันมากในแต่ละอนุภาค ทำให้อนุภาคนั้นไม่เคลื่อนที่ มีความแข็งแรง สารที่มีการเรียงกันของอนุภาคเช่นนี้คือสารชนิดของแข็ง หากอนุภาคเรียงกันไม่เป็นระเบียบ มีระยะห่างระหว่างอนุภาคจะทำให้อนุภาคนั้นเคลื่อนที่ได้มากกว่าการเรียงชิดกัน สารที่มีอนุภาคเคลื่อนที่ได้มักจำแนกออกเป็นของเหลว โดยการเคลื่อนที่ได้ของอนุภาคนั้นทำให้ของเหลวเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามภาชนะบรรจุนั่นเอง และสารประเภทสุดท้ายคือแก๊ส ซึ่งประกอบไปด้วยอนุภาคที่เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ มีการยึดติดกันน้อยหรือแทบไม่มีเลย แก๊สจึงมักจะสามารถลอยฟุ้งในอากาศได้ เมื่อทำความรู้จักอนุภาคและผลจากการมีอนุภาคแล้ว จึงจะเห็นได้ว่าอนุภาคเป็นสิ่งที่ทำให้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันของสิ่งของได้ ด้วยเหตุนี้เครื่องวัดขนาดอนุภาคจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นต่องานอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่แล้ว การใช้เครื่องวัดขนาดอนุภาคจะมีจุดประสงค์เพื่อวัดขนาดและคุณสมบัติต่างๆ ของอนุภาค เน้นไปที่สารที่จับต้องได้ยากและต้องการการควบคุมสูงอย่างของเหลวและแก๊ส เนื่องจากของเหลวและแก๊สเป็นสารที่ยากต่อการควบคุม ทำให้ต้องอาศัยเครื่องวัดขนาดอนุภาคมาช่วยตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ ของอนุภาคในสารเหล่านั้น โดยวิธีการตรวจสอบหลักๆ คือ เริ่มจากการใช้เครื่องวัดขนาดอนุภาคเก็บตัวอย่างของสารที่ต้องการตรวจสอบ และจะดึงเอาตัวอย่างสารนั้นเข้าสู่เครื่อง ส่งไปวิเคราะห์และแสดงผลบนหน้าจอ ผู้ใช้จะสามารถทราบขนาดและคุณสมบัติต่างๆ ของสารนั้นจากการวิเคราะห์อนุภาคได้ ในการใช้เครื่องวัดขนาดอนุภาคนั้น จำเป็นต้องเลือกเครื่องวัดขนาดที่เหมาะสมต่อโรงงาน อีกทั้งยังมีการใช้งานที่สะดวกสบาย เพื่อให้การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นสามารถทำตามกระบวนการได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ แต่การใช้เครื่องวัดขนาดอนุภาครวมถึงการเลือกซื้ออาจเป็นเรื่องยากสำหรับการวิเคราะห์ความเหมาะสม เพราะแต่ละโรงงานมีการใช้งานและความต้องการในการวัดอนุภาคไม่เหมือนกัน ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันทั้งเรื่องของขนาดของโรงงาน เป้าหมายของการใช้เครื่องวัดอนุภาคและสภาพแวดล้อมที่ใช้ จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญในเรื่องของเครื่องวัดขนาดอนุภาค pico ได้เข้ามาจัดการความยุ่งยากส่วนนี้ให้กับลูกค้า โดย pico จะให้บริการตัวแทนจำหน่ายเครื่องวัดขนาดอนุภาคสำหรับงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะที่สามารถให้คำปรึกษาได้ …

ที่ปรึกษาเครื่องวัดขนาดอนุภาคที่ดี ต้องไว้ใจ picoอ่านเพิ่มเติม

การเผาไหม้(Combustion)คืออะไร? ตรวจสอบได้อย่างไร?

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานที่มีระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้น จะเต็มไปด้วยอุปกรณ์ เครื่องจักรจำนวนมากที่ทำงานตลอดเวลา ดังนั้น ภายในโรงงานจึงมีการใช้พลังงานในปริมาณมาก ซึ่งการใช้พลังานเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องได้รับการควบคุมและตรวจวัดปริมาณอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นการใช้อย่างสิ้นเปลืองจนเกินไป และอาจส่งผลให้เกิดอันตรายกับบุคคลในโรงงานรวมทั้งระบบการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ ด้วย ซึ่งการเผาไหม้นั้นเป็นเป็นปฏิกริยาทางเคมีชนิดหนึ่งที่สำคัญในระบบอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้น การเตรียมเครื่องมือตรวจวัดสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อความปลอดภัยและการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง จะมีอะไรบ้าง ลองมาอ่านไปพร้อม ๆ กัน การเผาไหม้(Combustion) คืออะไร? การเผาไหม้คือการเกิดกระบวนการทางเคมีเมื่อสารหรือเชื้อเพลิงเช่น ไม้, น้ำมัน, แก๊ส ได้รับความร้อนและเกิดการปฏิสัมพันธ์กับออกซิเจนในอากาศทำให้เกิดพลังงานความร้อนและแสงสว่าง นอกจากนี้ยังปลดปล่อยก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ออกมาอีกด้วย ซึ่งถ้ามีปริมาณที่มากเกินไปอาจจะกลายเป็นก็าซพิษที่ส่งผลเสียต่อมนุษย์ ตรวจสอบการเผาไหม้ด้วยเครื่องมือตรวจวัดที่จำเป็นสำหรับงานอุตสาหกรรม เครื่องวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้ เครื่องสำหรับตรวจวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้ เป็นเครื่องตรวจวัดที่จะช่วยตรวจวัดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง โดยค่าที่จะนำมาพิจารณาหลัก ๆ ก็คือ อุณหภูมิ, เปอร์เซ็นออกซิเจนส่วนเกิน, ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์, ปริมาณออกไซด์ของไนโตรเจน อุปกรณ์ที่ควรใช้เครื่องวัดการเผาไหม้สำหรับการตรวจวัดก็คือหม้อไอน้ำ ที่จำเป็นต้องตรวจวัดเปอร์เซ็นของออกซิเจนในก๊าซเสีย-อุณหภูมิก๊าซเสีย และค่าความร้อนของเชื้อเพลิง เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจวัดมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำ และความร้อนที่สูญเสียจากการเผาไหม้, อุณหภูมิผิวของหม้อไอน้ำ, อุณหภูมิแวดล้อม, พื้นที่ผิว และค่าสัมประสิทธิ์การแผ่รังสีความร้อน เพื่อนำมาใช้สำหรับการวิเคราะห์ความร้อนที่สูญเสียทางผิวหนังหม้อไอน้ำ รวมทั้งอัตราการไหลและค่า Total Dissolved …

การเผาไหม้(Combustion)คืออะไร? ตรวจสอบได้อย่างไร?อ่านเพิ่มเติม

สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ

สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ติดตามคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพที่ดี

สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ติดตามคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพที่ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่เต็มไปด้วยมลพิษต่าง ๆ ทั้งฝุ่นละออง pm 2.5 เขม่าควันดำ และก๊าซพิษอื่น ๆ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่อากาศมีมลพิษมาก ดังนั้นการนำสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศมาใช้งาน ก็จะช่วยติดตามและตรวจวัดคุณภาพอากาศเพื่อให้ทุกคนสามารถรับมือกับมลพิษในอากาศได้อย่างรวดเร็ว และใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย มีสุขภาพที่ดีในระยะยาว สารบัญบทความ สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศหรือ AQMS คืออะไร? ส่วนประกอบของสถานีวัดคุณภาพอากาศ ประโยชน์ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ สรุปเกี่ยวกับสถานีวัดคุณภาพอากาศ สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศหรือ AQMS คืออะไร? สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ(air quality monitoring station – AQMS) คือ อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดและวิเคราะห์สภาพอากาศทางอุตุนิยมวิทยาเพื่อบันทึกและติดตามข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง เช่น ทิศทางลม ความเร็วลม อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้นสัมพันธ์ ปริมาณน้ำฝน การแผ่รังสี เป็นต้น  นอกเหนือจากนี้แล้วสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศยังถูกนำมาใช้ตรวจวัดมลพิษที่ปนเปื้อนในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง pm 2.5, pm10, SO2, NOx, CO, …

สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ติดตามคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพที่ดีอ่านเพิ่มเติม

เครื่องวัดขนาดอนุภาค”เครื่องนี้มีไว้ทำอะไร?

เมื่อได้ยินคำว่า “เครื่องวัดขนาดอนุภาค” เชื่อเหลือเกินว่าหลังจากที่ได้ยิน หลายคนคงจะสงสัยอย่างแน่นอนว่าชื่อนี้มันคือเครื่องอะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง และมีความสำคัญอย่างไรในงานอุตสาหกรรม งานนี้ใครที่กำลังสงสยเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ วันนี้เราหาคำตอบมาให้คุณแล้ว เลื่อนลงไปอ่านสาระดี ๆ จากเราได้ที่ด้านล่างนี้กันเลย! ทำความรู้จัก “เครื่องวัดขนาดอนุภาค” เมื่อพูดถึงเครื่องวัดขนาดอนุภาค เชื่อเหลือเกินว่าหลายคนคงจะไม่คุ้นเคยเกี่ยวกับเครื่องนี้สักเท่าไหร่นัก ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่รอช้าที่จะมาพูดถึง “เครื่องวัดขนาดอนุภาค” เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้น เครื่องวัดและวิเคราะห์อนุภาค คือ เครื่องมือที่ผลิตขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ขนาดอนุภาค เป็นเครื่องมือที่ใช้หลักการเลี้ยวเบนของแสงจากแหล่งกำเหนิดเลเซอร์ ทำให้สามารถวัดขนาดของอนุภาคด้วยแสงเลเซอร์ที่ส่งผ่านไปยังอนุภาคที่แขวนลอยอยู่ในตัวกลางที่เป็นของเหลวที่มีความโปร่งใสและมีค่าดัชนีการหักเหแสง(Refractive Index) ต่างจากอนุภาคตัวอย่างที่จะเกิดการกระเจิงแสงที่บริเวณผิวอนุภาค เมื่อแสงผ่านตัวอย่างอนุภาคที่เป็นสารแขวนลอย ทำให้เกิดปรากฏการกระเจิงแสง โดยแสงที่กระเจิงจากอนุภาคจะมีรูปแบบความเข้ม (Intensity) ที่มุมต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของอนุภาค ซึ่งขนาดอนุภาคขนาดเล็กจะมีมุมเลี้ยวเบนกว้างกว่า ขนาดอนุภาคที่ใหญ่กว่า โดยส่วนใหญ่อุปกรณ์นี้มักจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหา อีกทั้งสร้างการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น และช่วยให้ขั้นตอนการผลิตใช้เวลาน้อยลง วิธีเลือกซื้อ “เครื่องวัดขนาดอนุภาค” หลังจากที่เราพูดถึงข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการทำงานของเครื่องนี้กันไปแล้ว ก็มาสู่หัวใจสำคัญอย่างขั้นตอนการเลือกซื้อเครื่องวัดและวิเคราะห์อนุภาคกันดีกว่าว่าเครื่องมือวัดอนุภาคที่ดีนั้นต้องเลือกซื้อโดยใช้หลักเกณฑ์อะไร ใครไม่อยากพลาดซื้อเครื่องวัดวัดอนุภาคที่ไม่ถูกมาตรฐานสากล ไม่ได้มาตรฐาน เลื่อนลงมาอ่านข้อมูลได้ที่ด้านล่างนี้เลย! บริษัทมีความน่าเชื่อถือ สำหรบปัจจัยข้อนี้เป็นอะไรที่สำคัญอย่างมาก แม้ว่าในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องวัดอนุภาคในท้องตลาดนั้นมีหลายบริษัท แต่จะดีกว่าไหมหากคุณเลือกซื้อเครื่องวัดและวิเคราะห์ขนาดอนุภาคกับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน อย่าลืมว่าความน่าเชื่อถือของบริษัทสามารถวัดได้ด้วยชื่อเสียง และระยะเวลาการเปิดบริษัทที่มีมาอย่างยาวนานนั่นเอง มีบริการหลังการขาย เพราะในปัจจุบันผู้ให้บริการเครื่องวัดและวิเคราะห์ขนาดอนุภาคที่มีประสิทธิภาพดีในไทยนั้นมีมากมาย แต่คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าหลังการใช้งานแล้วจะไม่มีปัญหาติดตามช่างเรื่องงานซ่อมยุ่งยาก …

เครื่องวัดขนาดอนุภาค”เครื่องนี้มีไว้ทำอะไร?อ่านเพิ่มเติม

เครื่องวัดอัตราการไหล

เครื่องวัดอัตราการไหล(Flow Meter) คืออะไร มีประเภทใดบ้าง

เครื่องมือทางอุตสาหกรรมที่จำเป็นต่อหลาย ๆ โรงงาน ที่ใช้ในการวัดปริมาตรอัตราการเคลื่อนที่ของไหล อย่างเครื่องวัดอัตราการไหล และสิ่งสำคัญของตัวเครื่องวัดอัตราการไหล หรือ Flow meter จะต้องใช้เครื่องมือที่มีระบบการทำงานที่เที่ยงตรง จึงจะทำให้การทำงานนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น สารบัญบทความ รู้จักกับเครื่องวัดอัตราการไหล(Flow Meter) คืออะไร? หลักการทำงานของเครื่องวัดอัตราการไหล (Flow Meter) รู้จักกับเครื่องวัดอัตราการไหลประเภทต่าง ๆ เครื่องวัดอัตราการไหลช่วยอะไรได้บ้าง? ในงานด้านอุตสาหกรรม ค่าที่ได้จากเครื่องวัดอัตราการไหล(Flow Meter) บอกอะไรได้บ้าง วิธีเลือกซื้อ Flow Meter ให้ตอบโจทย์ คุ้มค่า กับการใช้งานมากที่สุด คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเครื่องวัดอัตราการไหล รู้จักกับเครื่องวัดอัตราการไหล(Flow Meter) คืออะไร? เครื่องวัดอัตราการไหล หรือ Flow meter เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญกับโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีหน้าที่ในการวัดปริมาตร หรืออัตราการเคลื่อนที่ของไหลที่ไหลผ่านใน ท่อ ราง ต่าง ๆ โดยประเภทของไหลที่วัด เช่น น้ำ หรือ แก๊ส โดยเครื่องวัดอัตราการไหลจะช่วยประเมินและวิเคราะห์ปริมาณของไหลที่มีการใช้ไป หรือผลิตออกมา เพื่อนำข้อมูลต่าง …

เครื่องวัดอัตราการไหล(Flow Meter) คืออะไร มีประเภทใดบ้างอ่านเพิ่มเติม

ฝุ่น PM2.5 กับความอันตราย ที่ต้องรีบหาทางแก้ไข

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยนั้นเกินค่ามาตรฐานไปมาก และคาดว่าจะหนักหน่วงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในทางภาคเหนือ ส่งผลให้คุณภาพอากาศอยู่ในระดับปานกลางไปจนถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในวงกว้าง ฉะนั้น จะดีกว่าไหม หากคุณมีเครื่องวัดคุณภาพอากาศ หรือสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศเป็นของตัวเอง เพื่อให้คุณสามารถควบคุมปริมาณฝุ่นภายในบ้าน รถยนต์ หรือแม้กระทั่งภายในโรงงานของคุณได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยควบคุมฝุ่นไม่ให้ออกไปทำลายสุขภาพผู้อยู่อาศัยรอบบริเวณบ้าน หรือโรงงานนั่นเอง แต่ก่อนที่เราจะไปพูดถึงเครื่องวัดคุณภาพอากาศ หรือสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ เรามาทำความรู้จักกับเจ้าฝุ่น PM 2.5 นี้กันก่อน เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงพิษภัยอันร้ายกาจของเจ้าฝุ่นเล็กจิ๋วนี้กัน ทำความรู้จักกับเจ้าฝุ่น PM 2.5 ตัวร้ายทำลายชีวิต PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย โดยเจ้าฝุ่น PM 2.5 นี้ยังเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอีกมากมาย สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 …

ฝุ่น PM2.5 กับความอันตราย ที่ต้องรีบหาทางแก้ไขอ่านเพิ่มเติม

เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ที่นำมาใช้กับระบบอุตสาหกรรมได้อย่างลงตัว

เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และระบบอุตสาหกรรมนั้นเข้ากันได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ เรียกได้ว่าเป็น 2 สิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้อย่างดีเยี่ยม เพราะหากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป จะทำให้การทำงานนั้นไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดีเท่าที่ควร บทความนี้เราจึงขอยกตัวอย่างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ (หรือเรียกอย่างง่ายๆ ว่าอุปกรณ์ในห้องแล็ป) และระบบอุตสาหกรรมที่พอนำมาใช้ร่วมกันแล้วมีแต่ปัง กับปังมาฝาก เพื่อให้เพื่อนๆ ได้เห็นภาพการทำงานระหว่างสองสิ่งนี้อย่างชัดเจนเข้าใจแจ่มแจ้งมากยิ่งขึ้น อุปกรณ์ในห้องแล็ป VS ระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อุปกรณ์ในห้องแล็ป นั้นมีมากมายหลายสิ่ง หลายประเภทการใช้งาน แต่สำหรับระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่แล้วนั้น เรามักเห็นเจ้าเครื่องมือนี้กันอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือ เครื่องมือตรวจรังสี นั่นเอง แต่ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับเครื่องมือตรวจรังสีในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เรามาทำความรู้จักกับคำว่ารังสีกันก่อน ว่ารังสีคืออะไร มีกี่ประเภท และมีผลกระทบอย่างไรกับเราบ้าง ? ทำความรู้จักกับ “รังสี” รังสี (radiation) คือ พลังงานที่แผ่มาจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งซึ่งอาจสามารถทะลุผ่านวัตถุชนิดต่างๆ ได้ โดยเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศ ซึ่งรังสีจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รังสีไม่ก่อประจุ (non-ionizing radiation) รังสีชนิดนี้เป็นรังสีที่มีพลังงานต่ำ อยู่ในช่วงต่ำของแถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic spectrum) เช่น แสงอาทิตย์ แสงอินฟราเรด คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุ …

เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ที่นำมาใช้กับระบบอุตสาหกรรมได้อย่างลงตัวอ่านเพิ่มเติม